ระบบ POS คืออะไร ?
POS คือ ระบบขายหน้าร้าน ชื่อเต็มของ POS คือ Point of sale ซึ่งหมายถึง จุดขายหรือจุดชำระเงิน ซึ่งนำหลักการของเครื่องคิดเงิน (Cash Register) มาเขียนโปรแกรมพัฒนาบนคอมพิวเตอร์ แล้วเพิ่มเติมความสามารถต่างๆที่เครื่องเก็บเงินทำไม่ได้ เช่น สามารถตัดสต็อกได้ ดูความเคลื่อนไหวต่างๆของสินค้า หรือ ระบบสมาชิก ตลอดจนดูข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ท ซึ่งความสามารถเหล่านี้ เครื่องเก็บเงินไม่สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเก็บเงินในปัจจุบัน ได้พัฒนารูปทรงให้เหมือนคอมพิวเตอร์ บางยี่ห้อทำเป็นหน้าจอระบบสัมผัสได้ แต่ข้างในยังเป็นเครื่องเก็บเงินอยู่ คือไม่มี Harddisk ถึงจะเปลี่ยนรูปทรงอย่างไร ก็ไม่ใช่่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ดี
ระบบ POS ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.) ส่วนของโปรแกรม (Software) มีหน้าที่เก็บข้อมูลการขาย และ ข้อมูลสต็อกเป็นหลัก โดยยจะเก็บข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการขายทั้งหมด เช่น ข้อมูลของสมาชิก ยอดซื้อสะสม ของลูกค้าที่มาใช้บริการในแต่ละวัน ดังนั้นโปรแกรม POS ที่ดี ควรใช้โปรแกรมฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เช่น MySQL Server , SQL Server เป็นต้น
ประเภทของโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้าน
แบบที่ 1 เป็นโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ ( POS หรือ Point of sale )
โปรแกรมประเภทนี้จะถูกออกแบบและพัฒนาโปรแกรม มาเพื่องานขายหน้าร้านโดยเฉพาะ การทำงานจะง่ายและไม่ซับซ้อน มีความหยืดหยุ่นสูงกว่า เน้นการทำงานที่รวดเร็วในการขาย วิธีสังเกตุของโปรแกรมประเภทนี้ หน้าตาโปรแกรมจะสบายตา ไม่เป็นตารางๆ ออกแบบหน้าตาโปรแกรมให้ใช้งานง่าย จะไม่มีคำว่า ลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือคำอื่นๆที่เป็นภาษาบัญชี จะมีไม่กี่บริษัทที่ทำโปรแกรม POS โดยเฉพาะ POS เหมาะสำหรับร้านค้าทั่วไป ที่เป็นเจ้าของคนเดียว หรือ เป็นนิติบุคคล ที่จ้างสำนักงานบัญชีภายนอก ทำบัญชี ส่งให้สรรพากรอีกที
แบบที่ 2 เป็นโปรแกรมบัญชี ที่มีส่วนของหน้าร้าน ( Accounting Software)
โปรแกรมประเภทนี้ จะใช้การหลักทำงานของโปรแกรมบัญชีทั้งหมดมาใช้กับงานขายหน้าร้าน ซึ่งโปรแกรมเก็บเงินส่วนใหญ่ในตลาดเป็นแบบนี้ ทำให้มีความยุ่งยากในการใช้งานมาก ไม่คล่องตัว มีข้อจำกัดเยอะ มีขั้นตอนในการใช้งานมาก วิธีสังเกตุของโปรแกรมประเภทนี้ ดูได้จากคำว่า ลูกหนี้ , เจ้าหนี้ , ใบเสนอราคา หรือ ระบบเช็คธนาคาร เป็นต้น เหมาะสำหรับร้านค้าที่เป็นรูปบริษัท และ ทำบัญชีส่งสรรพากรเอง ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับบุคลธรรมดา หรือ ร้านค้าขนาดเล็ก เพราะโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อ ให้มีการทำงานของหลายๆแผนก โดยเฉพาะแผนกบัญชี ที่ต้องนำข้อมูลทั้งหมดนี้ ไปทำงบการเงินส่งสรรพากรอีกทีดังนั้นโครงสร้างของโปรแกรม จึงไม่เหมือนกัน วิธีการคิด และ วิธีออกแบบโปรแกรม ก็ต่างกันมาก เพราะแต่ละโปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นมา มีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน
สรุป
ถ้าเราเปิด ร้านค้าทั่วไป เป็นบุคคลธรรมดา แนะนำให้ใช้โปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ (POS) ถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท แต่จ้างสำนักงานบัญชีภายนอกทำงบส่งสรรพากร แนะนำให้ใช้โปรแกรม (POS) ถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท และ ทำบัญชีส่งสรรพากรเอง แนะนำให้ใช้โปรแกรมบัญชี ที่มีส่วนของหน้าร้าน
เครื่องคิดเงิน(Cash Register)
เครื่องคิดเงิน เป็นเครื่องเก็บเงิน ตรงจุดขาย มีหน้าที่บันทึกการขาย เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเครื่องเก็บเงินจะไม่มี Harddisk จึงเก็บข้อมูลได้ไม่มาก และไม่สามารถตัดสต็อกได้ ดูยอดขายได้อย่างเดียว ส่วนรายชื่อสินค้าบางรุ่นจะพิมพ์เป็นภาษาไทยไม่ได้ เพราะไม่มีคีย์บอร์ดในตัวเครื่อง มีแต่ปุ่มกดตัวเลข ต้องพิมพ์ออกมาเป็นรหัสตัวเลขแทน ทางร้านต้องรู้ว่ารหัสตัวเลขนี้ คือสินค้าอะไร ทำให้ไม่สะดวกเวลาดูรายงาน จะไม่รู้ว่าขายอะไรไปบ้าง และจะไม่มีรายงานการวิเคาระห์ข้อมูลต่างๆ เช่น สินค้าอะไรที่ขายดี หรือ สินค้าอะไรบ้างที่ไม่มีการขาย เครื่องเก็บเงินจะไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้