การพิมพ์บาร์โค้ดเบื้องต้น มี2แบบ คือ
- การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนผ่านริบบอน หรือผ้าหมึก (Thermal Transfer)
การพิมพ์แบบโอนความร้อนผ่านริบบอนหรือผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือการพิมพ์แบบ Thermal Transfer คือเมื่อความร้อนจากหัวพิมพ์ถ่ายโอนไปยังริบบอน วัสดุหรือหมึกบนริบบอนจะย้ายไปติดยังสติ๊กเกอร์
บาร์โค้ด (Barcode label) การพิมพ์แบบโอนถ่ายความร้อนผ่านผ้าหมึกยังลดแรงเสียดทานของหัวพิมพ์กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เนื่องจากหัวพิมพ์ไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับเนื้อสติ๊กเกอร์โดยตรง จึงช่วยยืดอายุของหัวพิมพ์ให้ใช้งานได้นานขึ้น การพิมพ์แบบใช้ริบบอน ยังสามารถเลือกใช้ริบบอน และสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดหรือลาเบล (Barcode Label) ได้หลากหลายชนิดอีกด้วย
- การพิมพ์ผ่านความร้อนโดยตรง (Direct Thermal)
การพิมพ์แบบใช้ความร้อนโดยตรง (Direct Thermal) คือการพิมพ์แบบใช้ความร้อนโดยตรง คือการพิมพ์แบบหัวพิมพ์สัมผัสกับผิวหน้ากระดาษสติ๊กเกอร์โดยตรง โดยไม่ต้องใช้ริบบอน โดยผิวหน้าของสติ๊กเกอร์นั้นจะเคลือบด้วยสารเคมี เมื่อโดนความร้อนสติ๊กเกอร์จะเปลี่ยนเป็นสีดำ เพราะเหตุนี้เองการพิมพ์แบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ริบบอน
วิธีการพิมพ์แบบนี้อาจดูเหมือนจะประหยัดกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องซื้อริบบอน แต่วิธีการแบบนี้จะส่งผลให้หัวพิมพ์เสียเร็วกว่าการพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนผ่านริบบอน เนื่องจากหัวพิมพ์ต้องสัมผัสกับผิวเนื้อกระดาษสติ๊กเกอร์โดยตรง ผิวเนื้อกระดาษที่หยาบจะทำให้หัวพิมพ์เสียเร็วขึ้น
ข้อเสีย ในการพิมพ์ Direct Thermal ก็คือว่าสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองตลอดเวลาและงานพิมพ์จะจางหายไปสีเทาจาง ๆ สติ๊กเกอร์ที่พิมพ์แล้วจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 6 เดือนเท่านั้น