“สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด , ฉลาก บาร์โค้ด”

“สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด , ฉลาก บาร์โค้ด”

สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด ฉลาก บาร์โค้ด ที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ จะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันหลายอย่าง หลายประการ  ดังนั้นการทำความรู้จักกับประเภทของ สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด ฉลาก บาร์โค้ด จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้งาน สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด หรือ ฉลาก บาร์โค้ด  ได้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะการใช้งาน ดังต่อไปนี้

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด เนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน

สติ๊กเกอร์ เนื้อกึ่งมันกึ่งด้านเป็น เนื้อสติ๊กเกอร์ ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากมีราคาของสติ๊กเกอร์ค่อนข้างถูก ใช้ได้ในงานหลากหลายทั่วไป เช่น การติดป้ายราคา และ รายละเอียดสินค้า ซึ่งสินค้าที่นำสติ๊กเกอร์มาติดต้องมีการขายเปลี่ยนมือไว โดยจะต้องเป็นงานที่ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นหรือความร้อนเกิน อุณหภูมิปกติ ไม่ป้องกันการขูดขีด หมึกมีโอกาสหลุดร่อนตามระยะเวลาการใช้งาน หรือสติ๊กเกอร์ สามารถฉีกขาดได้ มีความมันเงาเล็กน้อย โดยนิยมใช้กันมากที่สุดกับหมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ WAX เนื่องจากมีราคาไม่แพง เพื่อลดต้นทุนสินค้าให้ต่ำที่สุด

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด เนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน

เป็นอีกเนื้อสติ๊กเกอร์ ที่มีความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่นเดียวกัน ราคาอยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับ สติ๊กเกอร์เนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน ใช้ได้ในงานหลากหลายทั่วไปเช่นเดียวกันกับ คุณสมบัติโดยรวมจะคล้ายกันกับ สติ๊กเกอร์เนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน จะมีความแตกต่างตรงที่จะไม่มีความมันเงาใดๆ และสามารถที่จะใช้ปากกาลูกลื่นเขียนได้  นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ ริบบอนเนื้อ WAX เช่นเดียวกันเนื้อกึ่งมันกึ่งด้าน เป็นริบบอนที่มีราคาถูกในท้องตลาด หรือถ้าต้องการให้ข้อความที่พิมพ์มีความคงทนต่อการขูดขีดมากขึ้น ก็สามารถใช้ ผ้าหมึก หรือ Ribbon แบบ WAX-RESIN ก็ได้

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด เนื้อขาวมัน หรือ เนื้ออาร์ตมัน

เนื้อสติ๊กเกอร์จะมีความมันเงาสวยงาม สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นได้เล็กน้อย เหมาะสำหรับการใช้ในงานสินค้าต่างๆ ที่ต้องการความสวยงาม จะนิยมใช้กับหมึกพิมพ์ ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ WAX และเนื้อ WAX-RESIN ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด เนื้อ PP Mat หรือ UPO

เป็นเนื้อคล้ายพลาสติก มีความทนทานสูง ฉีกไม่ขาด สามารถกันน้ำได้ มีทั้งชนิดเนื้อมันเงาและเนื้อขาวนวล มีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากวัตถุดิบไม่ใช่กระดาษ เหมาะกับงานอุตสาหกรรมอาหาร งานห้องเย็น งานทรัพย์สิน นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ WAX-RESIN และ RESIN ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำงาน

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด แบบ Direct Thermal

เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์แบบความร้อนที่ไม่ต้องใช้ผ้าหมึก หรือ ริบบอน ในการพิมพ์ ที่ผิวของสติ๊กเกอร์ มีสารเคมีเคลือบอยู่ ซึ่งจะเกิดสีเมื่อโดนความร้อนในปริมาณที่พอเหมาะ โดยหัวพิมพ์ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนจะทำหน้าที่ส่งความร้อนมาที่กระดาษ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี และทำให้สีของกระดาษเปลี่ยนแปลง สติ๊กเกอร์ ชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าเนื้อสติ๊กเกอร์ทั่วไป เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์ ริบบอน นิยมใช้ในงานที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น สินค้าบริโภคต่างๆ เพราะเนื้อสติ๊กเกอร์จะมีผลกระทบเมื่อโดนความร้อน หรือแสง UV

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด แบบฟอย

เป็นสติ๊กเกอร์ เนื้อโพลีเอสเตอร์ หรือ PET ที่ผสมสารเมทัลลิก เพื่อให้เกิดความทนทาน โดยเฉพาะทนต่อความร้อน มีราคาค่อนข้างสูงจึงเหมาะกับงานที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า เนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับงานที่ต้องการความคงทน เช่น งานทรัพย์สิน, งานอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ซึ่งต้องการสติ๊กเกอร์ ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนความร้อนได้สูง ขูดไม่ออก นิยมใช้คู่กันกับหมึกพิมพ์ ริบบอนเนื้อ RESIN เนื่องจากเป็นริบบอน ที่ทนต่อการขูดขีดเช่นเดียวกัน

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด เนื้อขาวนวล (TTR Transfer)

เป็นสติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด ที่มีลักษณะสีขาวนวล เนื้อเรียบเป็นพิเศษ มีความสวยงาม เนื่องจากความเรียบเนียนของพื้นผิว จึงทำให้เหมาะกับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์แบบ PRE-PRINTED หรือสติ๊กเกอร์ที่มีการสั่งพิมพ์สีจากทางโรงงาน เพราะจะได้ในเรื่องของความคมชัด สวยงาม นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ WAX ธรรมดา และ เนื้อ WAX-RESIN ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

  • สติ๊กเกอร์ บาร์โค้ด เนื้อ PVC ใส

เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ แบบใส มองทะลุได้ มีความทนทานสูง ฉีกไม่ขาด สามารถกันน้ำได้ มีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากวัตถุดิบไม่ใช่กระดาษ เหมาะกับงานเครื่องสำอาง ฉลากสินค้าที่ต้องการความหรูหรา นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ ริบบอน ได้ทั้งสองประเภท คือเนื้อ WAX-RESIN และ RESIN ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

ตรวจสอบการใช้งานและเช็ดหัวพิมพ์เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด

ตรวจสอบการใช้งานและเช็ดหัวพิมพ์เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด

เมื่อเดือนมกราคม 2559 หจก. เดอะ เพอเฟ็ค เลเบล แอนด์ บาร์โค๊ด จำกัด ได้เข้าไปดูแลลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจบริษัทฯ เสมอมา ซึ่งตั้งในจังหวัดชลบุรี ด้วยการลงพื้นที่ให้บริการตรวจสอบการใช้งานและเช็ดหัวพิมพ์เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งบริการดังกล่าวไม่เพียงสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในมาตรฐานการให้บริการและการดูแลลูกค้าของทาง เดอะ เพอเฟ็ค เลเบล แอนด์ บาร์โค๊ด  เท่านั้น แต่รอยยิ้มและความพึงพอใจของลูกค้าคือรางวัลแห่งความภูมิใจของเจ้าหน้าที่ของ เดอะ เพอเฟ็ค ฯ เช่นกัน

เทคโนโลยีการพิมพ์บาร์โค้ดเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการแข่งขันในโลกธุรกิจปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านทางหน้าร้าน สินค้าต่าง ๆ ในปัจจุบันต่างก็จำเป็นต้องนำบาร์โค้ดมาใช้ในการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเพื่อความแม่นยำและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนการให้บริการกับลูกค้าเองก็เช่นกัน เพราะเทคโนโลยีบาร์โค้ดจะช่วยให้ราคาสินค้าสามารถเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงิน ทำให้ขั้นตอนการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าและการลงบันทึกรายรับของร้านค้าสอดคล้องกันในขั้นตอนเดียว แต่ทั้งนี้ ระหว่างการใช้งานก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธีด้วย บริษัท ฯ เราจึงมีเจ้าหน้าที่เข้าไปสาธิตวิธีการดูแลรักษาและช่วยตรวจสอบการทำงานของเครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ดให้กับลูกค้า

ทั้งนี้ หจก. เดอะ เพอเฟ็ค เลเบล แอนด์ บาร์โค๊ด จำกัด ได้จัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ได้รับมาตรฐานสากล โดยมียอดจำหน่ายทั่วประเทศ ให้กับทางร้านค้าและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไว้ใช้จัดการบริหารระบบการทำงานให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการทำงานของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดได้เป็น 2 แบบด้วยกัน คือ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแบบที่ใช้หัวพิมพ์สร้างความร้อนส่งผ่านไปยังกระดาษ กับอีกประเภทหนึ่งคือเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ถ่ายความร้อนจากหัวพิมพ์ผ่านหมึก หรือ ริบบอนแล้วจึงพิมพ์ออกมา

ลิ้นชักเก็บเงินสดใช้งานอย่างไร

ลิ้นชักเก็บเงินสดใช้งานอย่างไร

เกือบทุกคนคงเคยเห็นการทำงานของลิ้นชักเก็บเงินสดมากันแล้วทั้งนั้น ยิ่งใครที่ได้เข้าไปจับจ่ายซื้อของตามห้างร้านสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อทั้งหลายมักมีเครื่องคิดเงิน และทุกเครื่องก็จะมีการติดตั้งลิ้นชักที่ใช้ในการเก็บเงินสดติดอยู่ทุกเครื่อง เมื่อกดคิดเงินลื้นชักนี้ก็จะดีดออกมา เพื่อถอนเงินและเก็บเงินของลูกค้า แต่ทราบหรือไม่ว่า ลิ้นชักเก็บเงินนี้มีหลักการทำงานอย่างไร และมีระบบสนับสนุนอะไรบ้างที่ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้ถูกต้อง

อุปกรณ์ลิ้นชักเก็บเงินสดนั้น เวลาจะใช้งานจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเพื่อจะใช้งานเสียก่อน โดยโปรแกรมนี้จะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องคิดเลขที่มีการเชื่อมสาย USB กับลิ้นชัก เมื่อกดปุ่มที่ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องคิดเงินก็จะส่งสัญญานให้ลิ้นชักทำงาน และพนักงานคิดเงินก็เพียงแต่เก็บและถอนเงินตามจำนวนที่เครื่องแสดงก็จะเป็นอันเสร็จแล้ว

นอกจากนี้ลิ้นชักเก็บเงินสดหรือ cashdrawer ยังช่วยลดปัญหาการทุจริตของพนักงานได้อีกด้วย เพราะสามารถเปิดได้แค่ 2 กรณี คือ การเปิดโดยใช้กุญแจไขเปิด (กุญแจสามารถเก็บโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง หรือผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ) หรือเมื่อมีกดแป้นคำสั่งที่เครื่องคิดเงิน ซึ่งโดยมาจะทำไปพร้อม ๆ กับเครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ลิ้นชักเก็บเงินก็จะเปิดออกโดยอัตโนมัติ เป็นการเพิ่มความสะดวกในการทำงาน และยังช่วยให้การคิดเงินเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ตัวเครื่องของลิ้นชักเก็บเงินนั่น มักทำจากเหล็กคุณภาพดี ทำให้มีความแข็งแรงทนทน เหมาะกับการเป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บเงินสดให้ปลอดภัย และยังทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และยังแข็งแรงจนสามารถตั้งจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ใบเสร็จบนลิ้นชักเก็บเงินได้ โดยไม่บุบหรืองอ แต่ยังคงสามารถทำงานได้อย่างปกติ ภายในลิ้นชักจะมีการแบ่งเป็นช่อง ๆ สำหรับจัดเก็บธนบัตรและช่องสำหรับเก็บเหรียญเงิน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้สามารถหยิบธนบัตรและเหรียญได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงทำให้เครื่องมือชนิดนี้เป็นที่นิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ลิ้นชักเก็บเงินสด ดูแลอย่างไรให้ใช้งานได้นาน

ลิ้นชักเก็บเงินสด ดูแลอย่างไรให้ใช้งานได้นาน

   

ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือพาหนะ หากคุณใช้งานเป็นประจำทุกวันย่อมเกิดความชำรุดเสียหายต่อสิ่งนั้น ๆ ได้ ดังนั้นไม่เพียงแต่การเลือกสิ่งของหรือคุณภาพของตัวสินค้าให้ใช้งานได้เท่านั้น คุณยังต้องศึกษาวิธีการดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ดังเช่น ลิ้นชักเก็บเงินสดหรือ cashdrawer ที่พบเห็นได้ตามร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแล ลิ้นชักเก็บเงินให้มีอายุการใช้งานอย่างยืนยาว ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงลิ้นชักทั่วไปไม่ต้องดูแลอะไรก็ได้ แต่ในความจริงนั้นลิ้นชักเหล่านี้จะมีที่ล็อคเพื่อป้องกันขโมยอยู่ หากลิ้นชักเกิดการชำรุดเสียหายอาจทำให้ขโมยหรือผู้ไม่หวังดีเอาเงินที่เก็บไว้ไปได้นั่นเองหรือถ้าลิ้นชักเกิดการชำรุดเสียหายตรงส่วนอื่น อาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งานในขณะที่กำลังเก็บเงินก็เป็นได้ ดังนั้น คุณจึงควรศึกษาข้อมูลจากบทความนี้ที่จะกล่าวถึงลิ้นชักเก็บเงินสด ดูแลอย่างไรให้ใช้งานได้นาน

1.คุณควรหมั่นทำความสะอาดตัวลิ้นชักเก็บเงินสดเป็นประจำ เช่น การทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องให้ปราศจากฝุ่นหรือรอยเปื้อนต่าง ๆ โดยการใช้น้ำชุบน้ำหมาด ๆ หรือผ้าสะอาดเช็ดให้ทั่ว

2.อย่าลืมสังเกตว่ายังสามารถใช้เครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ระบบภายในยังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ สังเกตจากการเปิด ปิดตัวล็อคต่าง ๆ

3.ระมัดระวังการเก็บเงิน ควรเก็บเงินให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยแยกเงินแต่ละประเภทให้ชัดเจน นอกจากนี้ยังไม่ควรนำสิ่งของจุกจิกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเก็บรวมไว้กับเงินอีกด้วย เพราะอาจทำให้เครื่องติดขัดทำงานช้าและเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

4.เก็บกุญแจสำหรับการล็อคเครื่องไว้ให้ดี เครื่องบางประเภทต้องใช้กุญแจในการล็อค หากคุณทำกุญแจหายอาจทำให้เกิดความลำบากในการเปิดลิ้นชักได้หรืออาจต้องเปลี่ยนลิ้นชักใหม่นั่นเอง

นอกจากการดูแลรักษาที่คุณควรให้ความสำคัญแล้ว คุณยังควรศึกษาวิธีการเลือกซื้อเครื่องตัวนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจอีกด้วย โดยดูจากลักษณะเหล็กที่มีคุณภาพดี ตัวเครื่องมีระบบการป้องกันไฟดูด มีการรับประกันคุณภาพของสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรศึกษาถึงประเภท รุ่น ยี่ห้อของตัวเครื่องและเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน หลังจากการใช้งานควรเช็คว่าปิดเครื่องสนิทหรือไม่และควรเช็คจำนวนเงินที่อยู่ในเครื่องเป็นประจำอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการใช้ลิ้นชักเก็บเงินสดคุณต้องคำนึงถึงวิธีการดูแลรักษา การใช้งานให้ถูกวิธี การเลือกซื้อเพื่อประโยชน์การใช้งานสูงสุด นอกจากนี้คุณอาจศึกษาการทำบัญชีรายรับรายจ่าย การจดบันทึกจำนวนเงินและการตรวจสอบจำนวนเงินเพิ่มเติมด้วยเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ลิ้นชักเก็บเงิน การดูแลรักษาลิ้นชักเก็บเงินสด

การดูแลรักษาลิ้นชักเก็บเงินสด

ลิ้นชักเก็บเงินสดหรือ cashdrawer คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่เทียบได้กับตู้เซฟ คือ เมื่อทำการปิดแล้ว เครื่องจะทำการล็อกตัวเองด้วยระบบไฟฟ้า เมื่อต้องการจะเปิดเครื่องก็จะเป็นต้องใช้รหัสของเครื่องนั้น ๆ ในการเปิดลิ้นชักเก็บเงินสด จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่แต่ละองค์กรแต่ละบริษัทจำเป็นต้องมีไว้ใช้

โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้าหรือธนาคารที่ต้องมีการเก็บรักษาเงินจำนวนมาก ๆ เพราะจะช่วยให้การเก็บรักษาเงินเป็นไปได้อย่างปลอดภัย ดีกว่าเก็บใส่ลิ้นชักธรรมดา อันมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการสูญหาย

แต่ถึงอย่างไรก็ตามลิ้นชักเก็บเงินสดก็เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาในการใช้งานตามมาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งานที่สั้นลง ปัญหาเปิดลิ้นชักแล้วไม่ออก ซึ่งอย่างหลังนี้ถ้ามันไปเกิดขึ้นในองค์กรหรือบริษัทใด นั่นหมายถึงเม็ดเงินที่อาจสูญไปจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่ามีวิธีการใดที่จะช่วยดูแลรักษา cashdrawer ให้สามารถใช้งานอยู่ได้ ไม่เกิดปัญหาตามมา

การดูแลรักษาลิ้นชักเก็บเงินสดข้อแรก คือ ขอให้ใช้งานอย่างทะนุถนอม เบามือสักหน่อย อย่ากระแทกเครื่องเวลาปิดหรือกระแทกปุ่มกดเวลาใส่รหัส เพราะการกระแทกแรง ๆ บ่อย ๆ จะทำให้ชิ้นส่วนภายใน ลิ้นชักเก็บเงินได้รับความเสียหายและอาจนำมาซึ่งปัญหาการเปิดไม่ติด ลิ้นชักไม่ออก ใส่รหัสไม่ได้ตามมา ซึ่งการปิดลิ้นชักเก็บเงินสดไม่จำเป็นต้องใช้แรงมากขนาดนั้น เอาแค่กะจังหวะให้ลิ้นชักปิดเข้าไปได้ แค่นั้นก็พอแล้ว

ข้อต่อมา คือ ควรมีการเก็บรักษาและดูแลทำความสะอาดลิ้นชักเก็บเงินสดอยู่เสมอ การเก็บรักษาในที่นี้ หมายถึง เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรหาผ้าสะอาดหรือแผ่นพลาสติกมาคลุม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นจับหรือสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์เข้าไปอาศัยและขับถ่ายใส่เครื่อง หรือเข้าไปทำรังภายในเครื่อง เพราะถ้าพวกสัตว์เข้าไปขับถ่ายหรือทำรังภายในลิ้นชักเก็บเงินสดจะส่งผลให้ลิ้นชักมีปัญหาทำงานได้ไม่เป็นปกติต้องระวังข้อนี้เอาไว้ให้ดี ส่วนการดูแลทำความสะอาด หมายถึง ต้องมีการทำความสะอาด โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดที่ตัวเครื่องบริเวณที่เช็ดได้และบริเวณรอบ ๆ ที่ติดตั้ง cashdrawer การทำเช่นนี้ ก็เพื่อให้เครื่องดูใหม่ สะอาดอยู่เสมอและยังเป็นการยืดอายุการใช้งานลิ้นชักเก็บเงินสดไปในตัวด้วย

การดูแลรักษาประการสุดท้าย คือ ควรมีการเช็คสภาพของลิ้นชักเก็บเงินสดอยู่เสมอ ต่อให้เครื่องยังทำงานได้ดีอยู่ก็ตาม เพราะเมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจมีชิ้นส่วนบางชิ้นที่เสื่อมสภาพหรือชำรุด การตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง หากองค์กรหรือบริษัทใด มีการดูแลรักษาลิ้นชักเก็บเงินสดที่ถูกต้อง รับรองว่า cashdrawer ของท่านจะมีอายุการใช้งานยาวนานอย่างแน่นอน

Ribbon resin แตกต่างจาก Ribbon wax อย่าง ไร?

ribbon resin แตกต่างจาก ribbon wax อย่างไร?

การพิมพ์ฉลากสำหรับติดสินค้าที่มีบาร์โค้ด นอกจากจะเลือกเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดหรือ Printer Barcode ที่มีความสามารถพิมพ์บาร์โค้ดได้อย่างชัดเจนแล้ว การเลือก หมึกพิมพ์บาร์โค้ด หรือริบบอน ที่เหมาะสมก็มีความสำคัญ เพราะคุณสมบัติของริบบอนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้ง Ribbon Resin และ Ribbon Wax อีกทั้งความทนทานในการขูดขีดและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและอุณหภูมิก็มีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้นเพื่อให้ได้คุณภาพของฉลากสินค้าตามที่ต้องการ ควรเลือกชนิดของริบบอนให้เหมาะกับงานที่ใช้ด้วย

เครื่องพิมพ์ Printer Barcode แบบถ่ายโอนความร้อน เป็นเครื่องพิมพ์ฉลากสินค้าและป้ายบาร์โค้ดที่ได้รับความนิยมมาก เพราะสามารถพิมพ์บาร์โค้ดได้ชัดเจน ไม่เสียคุณภาพ และลักษณะการทำงานที่ใช้การถ่ายเทความร้อนผ่านหมึกพิมพ์โดยที่หัวพิมพ์ไม่ต้องสัมผัสกับเนื้อริบบอนโดยตรง จึงทำให้เครื่องพิมพ์มีความทนทานสูง สามารถใช้งานได้นาน ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนที่ใช้กันในการผลิต นิยมใช้หมึกพิมพ์อยู่ 2 ชนิด คือ Ribbon Wax และ Ribbon Resin ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและเหมาะจะใช้งานกันคนละประเภท

หลายคนอาจสงสัยว่า Ribbon Resin แตกต่างจาก Ribbon Wax อย่างไร? ริบบอนชนิด Wax เป็นริบบอนที่นิยมใช้กันมาก เพราะราคาอยู่ในระดับที่ไม่แพงนัก  และสามารถใช้งานกับสินค้าทั่วๆ ไปได้หลายชนิด  ริบบอนหรือหมึกพิมพ์ชนิดนี้ มีส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ที่มีข้อดีคือมีราคาถูก และสามารถใช้พิมพ์ลงบนพื้นผิวได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือฉลากหรือป้ายที่ใช้ Ribbon Wax มักไม่ค่อยทนทานต่อการขูดขีดและสารเคมี

แต่หากต้องการฉลากสินค้าที่มีความทนทานสูง ทนต่อการขูดขีดและความร้อน ต้องเลือก Ribbon Resin ที่มีส่วนประกอบหลักคือ เรซิ่นสังเคราะห์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นคือสามารถทนต่อการขูดขีดและสารเคมีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จึงนิยมนำมาใช้ในการพิมพ์ฉลากรับประกันสินค้า ,สินค้าอุตสาหกรรม,ฉลากยา และบาร์โค้ดติดสินค้าที่ต้องการความทนทาน ไม่ลบเลือนหรือถูกทำลายง่าย ๆ อีกทั้ง Ribbon Resin ยังสามารถใช้ได้กับเนื้อสติ๊กเกอร์ทุกประเภท

ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของ Ribbon Resin คือมีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพและความทนทานแล้ว นับว่ามีความเหมาะสมในการใช้งาน โดยเฉพาะฉลากสินค้าที่ต้องการความทนทานสูง เช่น ป้ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอ,วัสดุเคลือบเงาอย่างโพลีเอสเตอร์ เช่น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง,ป้ายไวนิลสำหรับโฆษณา ที่มีโอกาสถูกแสงแดดและความชื้นอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงฉลากยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ต้องการความคมชัดของรายละเอียดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและไม่ลบเลือนง่าย ๆ แม้ถูกสารเคมีและความร้อน

เมื่อทราบถึงความแตกต่างของริบบอนทั้งสองชนิดแล้ว จะทำให้คุณตัดสินใจเลือกใช้หมึกพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

โปรแกรมบาร์เทนเดอร์,BarTender Software,โปรแกรมพิมพ์ บาร์โค้ด,ฉลากบารโค้ด,พิมพ์ได้ทั้ง 1D 2D,โปรแกรมฉลาก,การพิมพ์ฉลากคุณภาพสูง,bartender, บริษัท บาร์โค้ด, บาร์โค้ด excel, บาร์โค้ด line, บาร์โค้ด ราคา, บาร์โค้ด ออนไลน์, บาร์โค้ด โปรแกรม, บาร์โค้ด โปรแกรมสแกนบาร์โค้ด, บาร์โค้ดไทย, บาร์โค้ดไลน์, บาโค้ด, ฟอนต์ บาร์โค้ด, ระบบบาร์โค้ด, ระบบบาร์โค้ด ราคา, ร้านบาร์โค้ด, รูปบาร์โค้ด, รูปบาโค้ด, เขียนบาร์โค้ด, เลขบาร์โค้ด, แถบบาร์โค้ด, แปลงบาร์โค้ด, โค้ดตัวอักษร, โปรแกรมบาร์โค้ด, โปรแกรมบาร์โค้ด excel, โปรแกรมบาร์โค้ด ราคา, โปรแกรมสแกนบาร์โค้ด pc, โปรแกรมออกแบบบาร์โค้ด, โปรแกรมเขียนบาร์โค้ด, โปรแกรมแปลงบาร์โค้ด, โปรแกรมแสกนบาร์โค้ด

โปรแกรมบาร์เทนเดอร์ BarTender Software

โปรแกรมบาร์เทนเดอร์

โปรแกรม BarTender Software

โปรแกรมพิมพ์ บาร์โค้ด Bartender สำหรับออกแบฉลากสินค้า ฉลากบารโค้ด เพื่องานอุตสาหกรรม งานด้านค้าปลีก ค้าส่ง ขนส่ง พิมพ์ได้ทั้ง 1D 2D

Seagull Scientific คือนวัตกรรมที่กำหนดขึ้นตามแนวโน้มของ เทคโนโลยี ID อัตโนมัตินับแต่ปี 1985 จริงๆ แล้ว BarTender คือ โปรแกรมฉลากโปรแกรมแรกๆ ของ Windows เพื่อสนับสนุนทั้ง เครื่องพิมพ์เลเซอร์และเครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน ในปัจจุบัน เราเป็น ผู้พัฒนารายใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับไดรเวอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับ Windows ได้อย่างแท้จริง โดยสามารถรองรับเครื่องพิมพ์ฉลากและ ป้าย RFID ผู้ใช้จำนวนหลายแสนคนทั่วโลกกว่า 150 ประเทศต่างเชื่อ มั่นว่า BarTender คือซอฟต์แวร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด และใช้งานง่ายที่สุดใน อุตสาหกรรมฉลาก

การพิมพ์ฉลากคุณภาพสูง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟังก์ชันการ จัดการระบบซัพพลายเชน ได้แก่ การผลิต การจัดเก็บคลังสินค้า และ

การกระจายสินค้า นี่คือเหตุผลว่าทำไม BarTender จึงมีความ สามารถในการทำงานทั้งในเครื่องแบบสแตนด์อโลน และทำงานเป็นส่วนหนึ่งของแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์อื่น ฟังก์ชันการอินทิเกรตขั้นสูง การจัดการเครื่องพิมพ์ขั้นสูง และความปลอดภัยขั้นสูง นี่เป็นเพียง ส่วนหนึ่งที่คุณจะได้รับจากชุดซอฟต์แวร์สำหรับฉลาก ที่มีความ ก้าว หน้าที่สุดในโลก

BarTender Software เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ชั้นนำสำหรับการพิมพ์ฉลากรหัสแท่งบน Windowsโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบฉลากและรหัสแท่งระดับมืออาชีพนี้ ประกอบด้วยคุณลักษณะที่ก้าวล้ำสำหรับการพิมพ์ฉลากที่ตรงตามมาตรฐาน และสามารถผนวกรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ภายในองค์กรทั้งยังสนับสนุนป้าย RFID อย่างไรก็ตาม BarTender มีคุณสมบัติใช้งานง่าย ผู้ใช้ระดับเริ่มต้นจะสามารถออกแบบผลงานได้ภายในเวลาไม่กี่นาที

หมวดหมู่: ซอฟต์แวร์ ป้ายกำกับ: bartender, บริษัท บาร์โค้ด, บาร์โค้ด excel, บาร์โค้ด line, บาร์โค้ด ราคา, บาร์โค้ด ออนไลน์, บาร์โค้ด โปรแกรม, บาร์โค้ด โปรแกรมสแกนบาร์โค้ด, บาร์โค้ดไทย, บาร์โค้ดไลน์, บาโค้ด, ฟอนต์ บาร์โค้ด, ระบบบาร์โค้ด, ระบบบาร์โค้ด ราคา, ร้านบาร์โค้ด, รูปบาร์โค้ด, รูปบาโค้ด, เขียนบาร์โค้ด, เลขบาร์โค้ด, แถบบาร์โค้ด, แปลงบาร์โค้ด, โค้ดตัวอักษร, โปรแกรมบาร์โค้ด, โปรแกรมบาร์โค้ด excel, โปรแกรมบาร์โค้ด ราคา, โปรแกรมสแกนบาร์โค้ด pc, โปรแกรมออกแบบบาร์โค้ด, โปรแกรมเขียนบาร์โค้ด, โปรแกรมแปลงบาร์โค้ด, โปรแกรมแสกนบาร์โค้ด

คำบรรยายสินค้า

โปรแกรมพิมพ์บาร์โค้ด Bartender

โปรแกรมพิมพ์ บาร์โค้ด Bartender สำหรับออกแบฉลากสินค้า ฉลากบาร์โค้ด เพื่องานอุตสาหกรรม งานด้านค้าปลีก ค้าส่ง ขนส่ง พิมพ์ได้ทั้ง 1D 2D

ด้วยจำนวนผู้ใช้หลายแสนคนจากกว่า 150 ประเทศ BarTender คือผู้นำในด้านซอฟต์แวร์การออกแบบและการพิมพ์สำหรับฉลาก บาร์โค้ด และแท็ก RFID ด้วยประสิทธิภาพที่สามารถใช้งานได้ไม่ว่าจะเป็นแบบสแตนด์อโลนหรือการใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นใด BarTender นับเป็นทางออกที่ดีสำหรับการพิมพ์ตามต้องการหรือแอปพลิเคชันการทำเครื่องหมายเกือบทุกประเภท รวมทั้ง: ฉลาก, การพิมพ์และนำไปใช้, การทำเครื่องหมายโดยตรงบนชิ้นส่วนหรือบรรจุภัณฑ์, การเข้ารหัสสมาร์ทการ์ดcards, การผลิตป้ายและอื่นๆ อีกมากหมาย มาพร้อมแอปพลิเคชันที่เปี่ยมประสิทธิภาพซึ่งยังสามารถจัดการการรักษาความปลอดภัยของระบบ, ฟังก์ชันการพิมพ์จากเครือ, การจัดพิมพ์เอกสาร, การบันทึกข้อมูลงานพิมพ์และอื่นๆ ด้วย 4 รุ่นนี้สามารถส่งมอบของเขตของคุณลักษณะที่น่าทึ่ง มี BarTender เพื่อทำให้ทุกความต้องการและงบประมาณเป็นที่น่าพอใจ

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

บาร์โค้ด คืออะไร ??

บาร์โค้ด  คืออะไร ??

บาร์ โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่าย ขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้น สำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียก ว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR BarcodeBARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของ อุตสาหกรรม การค้าขาย และการบริการ ที่ต้องใช้การบริหารจัดการข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์  และปัจจุบันมีกระประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของ Mobile Computer ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บ แสดงผล ตรวจสอบ และประมวลในด้านอื่นๆ ได้ด้วย

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

บาร์โค้ด 2 มิติ

บาร์ โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษร หรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือ เกาหลี เป็นต้น และบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดี หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัส ไว้ ลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่มากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกันกับบาร์โค้ด 1 มิติ

บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. บาร์โค้ด 2 มิติ แบบสแต๊ก (Stacked Barcode)

บาร์ โค้ดแบบสแต๊กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแนว มีการทำงานโดยอ่านภาพบาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความกว้างนี้ทำให้สามารถถอดรหัสจากที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์ดค้ดแบบสแต๊กสามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย และการอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นด้านบน  ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบสแต๊ก คือ บาร์โค้ดแบบ PDF417 (Portable Data File)

  1. บาร์โค้ด 2 มิติ แบบเมตริกซ์ (Matrix Codes)

บาร์ โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบ สแต๊กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่นของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือมีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว ตัวอย่างของบาร์โค้ดแบบแมตริกซ์ คือ บาร์โค้ดแบบ MaxiCode , บาร์โค้ดแบบ Data Matrix ,บาร์โค้ดแบบ QR Code

ข้อดีของการใช้บาร์โค้ด

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : บาร์โค้ดจะช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และมีความเที่ยงตรง แม่นยำมากในการจัดเก็บข้อมุลต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในบางขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีการติดตามงานที่แม่นยำ ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการติดตามสถานะของวัตถุดิบ สินค้า หรือส่วนอื่นๆ ในสายการปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องระมัดระวังทุกขั้นตอนในการดำเนินการ จะช่วยลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดในกระบวนการทำงานได้ มากขึ้น
  • ประหยัดเวลา : โดยปกติคุณอาจต้องการพนักงาน 20 คนในการเช็คสต๊อกกลางปีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่สำหรับระบบบาร์โค้ดคุณต้องการเพียงพนักงาน 3 คนและใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมงในการเช็คสต๊อกให้เรียบร้อย ในการดำเนินงานในแต่ละวัน ถ้ามีการขนส่งสินค้า 20 กล่อง จากเดิมที่คุณต้องใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการจดรหัสสินค้า และเลขซีเรียล แต่คุณจะใช้เวลาเพียง 15-30 วินาทีเท่านั้นในการสแกนบาร์โค้ด นอกจากจะประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากรบุคคลแล้ว ระบบบาร์โค้ดยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นอย่างมาก
  • ลดข้อผิดพลาด : ข้อผิดพลาดที่เกิดในการจัดการข้อมูลบางครั้งอาจจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ ได้ รวมถึงทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจด้วย ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานใส่ข้อมูลผิดพลาด แต่ถ้าใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูล ความเที่ยงตรง แม่นยำที่มากกว่า จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เป็นอย่างมาก
  • ลดค่าใช้จ่าย เมื่อบาร์โค้ดมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลามากขึ้น ลดอัตราการจ้างงาน คุณก็จะประหยัดเวลาในการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในโครงการต่างๆ

การทำงานของบาร์โค้ด

เครื่อง อ่านบาร์โค้ด จะทำงานโดยแยกความกว้างระหว่างพื้นที่มืดและพื้นที่สว่างออกมาเป็นรหัสตัว เลข เมื่อแสงจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดมากระทบบาร์โค้ดในลักษณะวางพาดขวาง แสงสะท้อนที่ออกจากเส้นมืดจะน้อยกว่าแสงที่สะท้อนออกจากพื้นที่สว่าง เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแปลงแสงสะท้อนนี้เป็นรหัสไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เครื่องมือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา

มีบาร์โค้ดบางแบบที่มีการตรวจสอบความ ถูกต้องของบาร์โค้ด โดยมีการคำนวนเลขตรวจสอบ (Check digit Calculation) และแสดงค่านั้นๆ มาท้ายของข้อมูลที่อ่านได้ เช่นบาร์โค้ดในแบบ UPC/EAN และการอ่านบาร์โค้ดจะแสดงผลทั้งการอ่านปกติและผลของการเปรียบเทียบของการ ตรวจสอบบาร์โค้ด และเมื่อพบข้อผิดพลาดของข้อมูลในตัวบาร์โค้ด  เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือโปรแกรมที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดจะแสดงข้อผิดพลาดดังกล่าวออกมา เพื่อทำการแก้ไข และให้ทำการอ่านบาร์โค้ดหรือพิมพ์บาร์โค้ดใหม่อีกครั้ง บาร์ โค้ดในแต่ละแบบมีรูปแบบของลักษณะแท่งบาร์โค้ดที่แต่งต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแท่งบาร์โค้ด ลักษณะการจัดวางตัวอักษร/ตัวเลข วิธีการบันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด และอื่นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้งานมักจะสนใจคุณสมบัติการใช้งานมากกว่าข้อมูลทางด้าน เทคนิคของบาร์โค้ดนั้นๆ

ระบบบาร์โค้ดในงานอุตสาหกรรมการผลิต

ในยุคปัจจุบันนี้บาร์โค้ดหรือรหัสแท่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตของคนเราคุณสามารถพบเห็นรหัสแท่งได้เกือบทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าทั่วไป โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถานกักขัง ฟาร์ม หรือแม้กระทั่งบนสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านของคุณ รหัสแท่งเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราไปโดยปริยาย หากแต่รหัสแท่งเหล่านี้คืออะไร และมันให้ประโยชน์อะไรบ้าง

มันไม่น่าแปลกใจเลยที่คุณจะไม่รู้เรื่องและรู้สึกสับสนกับ รหัสแท่งเหล่านี้ที่อยู่บนซองบรรจุอาหาร กล่องสินค้า ซองจดหมาย สายรัดข้อมือคนไข้ในโรงพยาบาล และสิ่งต่าง ๆ อีกมากมาย ดูผิวเผินแล้วรหัสแท่งเหล่านี้มีลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้วรหัสแท่งแต่ละอันนั้นมันแตกต่างกัน ในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีมาตรฐานของรหัสแท่งที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะอธิบายต่อไปภายหลัง หากคุณต้องการที่จะติดตั้งระบบการจัดการข้อมูล โดยใช้รหัสแท่งแล้ว คุณต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเลือกใช้ระบบรหัสแท่งที่ถูกต้องเหมาะสม กับธุรกิจและการใช้งานของคุณ

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะสามารถหาคำตอบที่คุณสงสัยเกี่ยวกับรหัสแท่ง การทำงานของรหัสแท่ง เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ เลือกหา และตัดสินใจเลือกใช้งานระบบการจัดการข้อมูล โดยใช้รหัสแท่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรหัสแท่ง
  • รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง
  • สแกนเนอร์ (Scanner)—แบบฟิกซ์ (Fixed), แบบแป้นพิมพ์ชนิดพกพา, และแบบไร้สาย
  • การผนวกระบบจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่งเข้ากับระบบงานเดิมที่ใช้อยู่
  • ซอฟต์แวร์ (Software) ระบบจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่ง
  • การจัดพิมพ์รหัสแท่ง
  • ลักษณะการประยุกต์ใช้งานและอุตสาหกรรมที่ใช้รหัสแท่ง
  • คำถามที่ควรถามในการเลือกซื้อระบบจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่ง
  • อื่น ๆ

จุดประสงค์ในการนำเสนอ ความรู้เบื้องต้นเรื่องรหัสแท่ง นี้เพื่อให้นักธุรกิจมืออาชีพอย่างคุณ ได้เข้าใจถึงประโยชน์ต่าง ๆ ของการนำระบบการจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่ง ไปใช้กับธุรกิจของคุณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มผลกำไรของการประกอบการ

ซ่อนอะไรไว้ระหว่างแท่ง

สิ่งแรกคือคุณไม่ต้องไปกลัวเมื่อเห็นรหัสแท่ง คุณไม่จำเป็นจะต้องเป็นอัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ถูกเก็บไว้ในรหัสแท่ง จริง ๆ แล้วรหัสแท่งก็เป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีการในการเขียนตัวเลข และตัวหนังสือ โดยใช้สัญลักษณ์แท่งและช่องว่างที่ไม่เท่ากัน ประกอบกันเป็นรูปสัญลักษณ์ หรือในอีกมุมมองหนึ่ง รหัสแท่งก็คืออีกหนึ่งวิธีของการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แทน ที่จะนั่งพิมพ์ข้อมูลโดยใช้แป้นพิมพ์ สำหรับ ธุรกิจที่มีการนำรหัสแท่งไปใช้งานอย่างถูกวิธีและเหมาะสมแล้ว จะช่วยทำให้ลดความเสียหายและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลประกอบการเพิ่มขึ้นด้วยพูดง่าย ๆ ก็คือการใช้รหัสแท่งจะช่วยทำให้การป้อนข้อมูลสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้อาจจะทำให้คุณแปลกใจอยู่บ้าง รหัสแท่งไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกับเลขประจำตัวประชาชนของคุณที่ไม่ได้เก็บข้อมูล ชื่อและที่อยู่ของคุณ รหัสแท่งเก็บแค่ตัวเลขอ้างอิงที่ใช้เพื่อเรียกดูรายละเอียด ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

ตัวอย่าง: รหัสแท่งที่อยู่บนขนมปังจะไม่มีชื่อของสินค้า ประเภทของขนมปัง หรือราคาของขนมปัง ข้อมูลที่เก็บอยู่บนรหัสแท่งก็คือตัวเลข 12 หลักหนึ่งชุด หลังจากที่ตัวเลขนี้ถูกอ่านผ่านเครื่องเก็บเงินแล้ว มันจะถูกส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะทำการเรียกหา

และดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขชุดนี้ขึ้นมาจากระบบฐานข้อมูล เช่นรายละเอียดของสินค้า ชื่อบริษัทคู่ค้า ราคาสินค้า สต็อกที่เหลืออยู่ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ราคาสินค้า จะปรากฏที่หน้าจอของเครื่องเก็บเงิน (ซึ่งระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้าออกจากระบบทันที) กระบวนการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ถ้าไม่มีการใช้รหัสแท่งพนักงานเก็บเงินจะต้องทำการป้อนรหัสสินค้าทั้งหมดทุกชิ้นที่เป็นตัวเลข 12 หลักด้วยตัวเองซึ่งอาจจะใช้เวลามากขึ้นและอาจป้อนข้อมูลผิดพลาดได้

โดยสรุปแล้วรหัสแท่งเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขรหัสสินค้า ซึ่งเมื่อมีการอ่านผ่านสแกนเนอร์แล้ว ตัวเลขดังกล่าวจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อทำการค้นหา และแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขชุดนั้น

รูปสัญลักษณ์: ความหมาย

การใช้สัญลักษณ์ถือได้ว่า เป็นภาษาของรหัสแท่งเลยทีเดียว ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นเมื่อคุณเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสคุณก็ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสในการติดต่อสื่อสาร ในทำนองเดียวกันภาษาของรหัสแท่งคือภาษาสัญลักษณ์  ซึ่งต้องใช้สแกนเนอร์เป็นตัวอ่าน รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ สแกนเนอร์อ่านข้อมูล ที่เก็บอยู่ในรหัสแท่งได้ถูกต้อง และเมื่อคุณต้องการที่จะพิมพ์รหัสแท่ง รูปสัญลักษณ์นี้ก็จะเป็นตัวบอกให้ เครื่องพิมพ์ ทำการพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงบนฉลากของตัวสินค้า

รูปสัญลักษณ์ประเภทต่าง ๆ ของรหัสแท่ง

รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งมีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้วเราจะคุ้นเคยกับรูป สัญลักษณ์ของรหัสแท่ง ที่ใช้ตามร้านขายของอุปโภคบริโภคทั่วไป หรือซุปเปอร์มาร์เกต แต่ในความเป็นจริงแล้วรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งมีหลายรูปแบบ แล้วแต่ประเภทของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ด้านการผลิต หรือด้านธุรกิจขายปลีก ซึ่งรูปสัญลักษณ์นี้ใช้ได้เฉพาะอุตสาหกรรมหรือธุรกิจของใครของมัน ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ คุณอาจจะมีคำถามว่าทำไมจะต้องมีรูปสัญลักษณ์ ของรหัสแท่งที่แตกต่างกันด้วย คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ รูปสัญลักษณ์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ เท่านั้น รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

บาร์โค้ดแบบตัวเลข

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

ยูพีซี/อีเอเอ็น (UPC/EAN)

รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งประเภทนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้สำหรับการเก็บเงิน (check out) ยูพีซีเป็นรหัสแท่งที่มีความยาวของรหัสแท่งที่แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเป็นมาตรฐาน ที่ถูกกำหนดใช้ในธุรกิจขายปลีกและธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารเท่านั้น ยูพีซีถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานกับมาตรฐาน รหัสสินค้าที่เป็นตัวเลข 12 หลักสำหรับธุรกิจด้านนี้

EAN-13(European Article Numbering international retail product code) เป็นแบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยบาร์โค้ดประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้

3 หลักแรก  คือ รหัสของประเทศที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตได้ทำการลงทะเบียนได้ทำการผลิตจากประเทศไหน

4 หลักถัดมา คือ รหัสโรงงานที่ผลิต

5 หลักถัดมา คือ รหัสของสินค้า

และ ตัวเลขในหลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check digit) แม้ ว่าบาร์โค้ดแบบ EAN-13 จะได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่ในสหรัฐอเมริกาและแคนนาที่เป็นต้นกำเนิดบาร์โค้ดแบบ UPC-A ยังคงมีการใช้บาร์โค้ดแบบเดิม จนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 หน่วยงาน Uniform Code Council ได้ประกาศให้ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 ไปพร้อมๆ กับ UPC-A ที่ใช้อยู่เดิม การออกประกาศในครั้งนี้ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ อเมริกาและแคนาดาต้องใช้บาร์โค้ดทั้ง 2 แบบบนผลิตภัณฑ์

การคำนวนตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ดแบบ EAN-13 (Check digit Calculation)

  • นำตัวเลขในตำแหน่งคู่ (หลักที่ 2,4,6,8,10,12 )มารวมกัน แล้วคูณด้วย 3
  • นำตัวเลขในตำแหน่งคี่ (หลักที่ 1,3,5,7,9,11 )มารวมกัน
  • นำผลลัพท์จากข้อ 1 และ 2 มารวมกัน
  • นำผลลัพท์ที่ได้จากข้อ 3 ทำการ MOD ด้วย 10 จะได้เป็นตัวเลข (Check digit ) ที่จะต้องแสดงในหลักที่ 13

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

EAN-8  เป็นบาร์โค้ดแบบ EAN ที่เหมาะสมหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ใช้หลักการคล้ายกันกับบาร์โค้ดแบบ EAN-13 แต่จำนวนหลักน้อยกว่า คือ จะมีตัวเลช 2 หรือ 3 หลัก แทนรหัสประเทศ  4 หรือ 5 หลักเป็นข้อมูลสินค้า และอีก 1 หลักสำหรับตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check Digit) แต่สามารถขยายจำนวนหลักออกไปได้อีก 2 หรือ 5 หลัก ในลักษณะของ Extension Barcode  (UPC-A+2 , UPC-A+5 ) ซึ่งเป็นคนละลักษณะกับการใช้บาร์โค้ดแบบ UPC-E ที่จะต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบเต็มเหมือน UPC-A แต่ทำการตัด 0 (ศุนย์) ออกข้อมูลตัวเลขในสัญลักษณ์บาร์โค้ดแบบ EAN-8 จะบ่งชี้ถึงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ และเมื่อมีการใช้ EAN-8 มากขึ้นในหลายประเทศ จำนวนของตัวเลขที่นำมาใช้ซึ่งมีจำนวนจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับผู้ใช้จึงหันมา ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 แทน

UPC-A (Universal Product Code) พบมากในธุรกิจค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกา และ แคนนาดา รหัสบาร์โค้ดที่ใช้เป็นแบบ 12 หลัก  หลักที่ 1 เป็นหลักที่ระบุประเภทสินค้า และตัวที่ 12 เป็นหลักที่แสดงตัวเลขที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด      รหัสบาร์โค้ดแบบ UPC มีหน่วยงาน Uniform Council [UCC] ที่ตั้งอยู่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลในการจดทะเบียนบาร์โค้ด

UPC-E  เป็นบาร์โค้ดแบบ UPC ที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ถูกพัฒนามาจากบาร์โค้ดแบบ UPC-A โดยตัดจะเลข 0 (ศูนย์) ออกทั้งหมด บาร์โค้ด UPC-E สามารถพิมพ์ออกมาได้ขนาดเล็กมาก ไว้ใช้สำหรับป้านขนาดเล็กที่ติดบนตัวสินค้า

Interleaved 2 of 5  เป็นรหัสบาร์โค้ดที่ใช้ในระบบรับ-ส่งสินค้า รหัสบาร์โค้ดแบบนี้เหมาะสำหรับพิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก มักใช้ในโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ

บาร์โค้ดที่ใช้ตัวเลขและตัวอักษร

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

โค้ด 39 (Code 39)  รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งประเภทนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา จากความต้องการที่จะนำเอาข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเข้าไปในรหัสแท่ง ด้วย และโค้ด 39 ก็เป็นรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง ที่นิยมใช้มากที่สุดในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยทั่วไปแล้วนิยมนำไปใช้งานด้านการจัดการสินค้าคงคลัง หรือการติดตามความเคลื่อนไหวของวัตถุดิบในโรงงานผลิตสินค้า ความยาวของรูปสัญลักษณ์แบบโค้ด 39 นี้ค่อนข้างยาวและอาจจะไม่เหมาะสมหากฉลากสินค้ามีพื้นที่จำกัด

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

โค้ด 128 (Code 128)  เนื่องจากโค้ด 39 เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาโค้ด 128 ขึ้นมาใช้งาน และเหมาะสมกับฉลากสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด เพราะรหัสแท่งแบบโค้ด 128 นี้จะกะทัดรัดและดูแน่นกว่าโค้ด 39 โดยทั่วไปแล้วโค้ด 128 นิยมใช้ในอุตสาหกรรม การจัดส่งสินค้าซึ่งมีปัญหาด้านการพิมพ์ฉลาก

บาร์โค้ด 2 มิติ

โพสต์เน็ต (Postnet)

เป็นรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่ถูกพัฒนาสำหรับการไปรษณีย์ ของประเทศอเมริกาโดยเฉพาะ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่งแบบโพสต์เน็ตคือรหัสไปรษณีย์ เพื่อใช้สำหรับการแยกประเภทของจดหมายเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่ง

PDF417 (Portable Data File) เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบสแต๊ก ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยบริษัท Symbol Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกา บาร์โค้ดแบบ PDF417 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 15438 และ AIM USS-PDF417 ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนแทนรหัสข้อมูลหรือที่เรียกว่าโมดูลข้อมูล (Data Module) เป็นแถบสีดำและสีขาวเรียงตัวกันหลายๆ แถวทางแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งประกอบด้วย 3 ถึง 90 แถว และ 1 ถึง 30 คอลัมน์ สามารถบรรจถข้อมูลได้มากสุดถึง 2,710 ตัวเลข 1,850 ตัวอักษร 1,018 ไบนารี คำว่า PDF ย่อมาจาก Portable Data File และประกอบไปด้วย 4 แถบ และ 4 ช่องว่างใน 17 โมดูล จึงทำให้ได้หมายเลข 417 เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะสามารถอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวา หรือ ขวาไปซ้าย และอ่านจากบนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่บาร์โค้ดแบบ PDF 417 จะนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียด และถูกต้องเป็นพิเศษ พีดีเอฟ417 (PDF417) รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งแบบพีดีเอฟ417 หรือเรียกอีกอย่างว่า รหัสแท่งสองมิติ เป็นรูปสัญลักษณ์ที่มีความหนาแน่นของรหัสแท่ง มากกว่าปกติและไม่เป็นเส้นตรง ใกล้เคียงกับตารางคำศัพท์อักษรไขว้ที่เคยเห็นอยู่ทั่วไป สิ่งที่ทำให้รหัสแท่งแบบพีดีเอฟ417แตกต่างจากรหัสแท่งแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่ง พีดีเอฟ417 จะเก็บข้อมูลเป็นลักษณะแฟ้มข้อมูลแทนที่จะเป็นข้อมูลตัวเลขอ้างอิง บางรัฐ (ในประเทศอเมริกา) จะนำรหัสแท่งสองมิตินี้ไปใช้บนใบขับขี่ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณได้มากมาย เช่นชื่อของคุณ รูปถ่าย บันทึกข้อหาที่คุณเคยฝ่าฝืนกฎจราจร และข้อมูลอื่น ๆ รูปสัญลักษณ์แบบพีดีเอฟ417 ซึ่งมีขนาดเท่ากับแสตมป์นี้สามารถที่จะเก็บเนื้อหา ของคำประกาศที่เกทตี้ส์เบอร์กได้ทั้งหมด

Data Matrix บาร์โค้ด 2 มิติแบบนี้ ถูกพัฒนาดโดยบริษัท RVSI Acuity Cimatrix ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1989 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16022 และ ANSI/AIM BC11-ISS-Data Matrix ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบาร์โค้ดรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 โมดูล และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 18 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลข หรือ 2.355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่นได้แก่ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของบาร์โค้ดแบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งของด้านซ้ายและด้านล่างของบาร์โค้ด บาร์โค้ด Data Matrix ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็ก

สิ่งที่สำคัญควรจำก็คือ

ถ้าขนาดของแท่งและช่องว่างของรูปสัญลักษณ์ของ รหัสแท่งยิ่งกว้างเท่าไหร่ พื้นที่ที่ใช้พิมพ์รหัสแท่งก็จะกว้างขึ้นไปเท่านั้น เป็นผลให้ความแน่นและความทึบของรหัสแท่งลดลงไปตามกัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าขนาดของแท่งและช่องว่างแคบลงไป พื้นที่ที่ใช้พิมพ์รหัสแท่งก็น้อยลงไป เป็นผลให้ความแน่นและความทึบของรหัสแท่งเพิ่มมากขึ้น

อ่านรหัสแท่งอย่างไร

รหัสแท่งถูกอ่านโดยการฉายแสงพาดไปยังรูปสัญลักษณ์บนฉลาก คุณจะมองเห็นเพียงแสงเลเซอร์สีแดงบาง ๆ ที่ถูกยิงออกมาจากสแกนเนอร์เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันนั้นแสงที่ยิงออกจากสแกนเนอร์นั้นจะถูกดูดซับไว้โดยแท่งสีทึบของรหัสแท่ง และสะท้อนออกไปด้วยช่องว่างสีขาวของรหัสแท่ง เครื่องสแกนเนอร์จะทำการเก็บเอาแสงที่ถูกสะท้อนกลับออกมานั้น แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า

แสงเลเซอร์ที่ยิงออกมาจากสแกนเนอร์ (แหล่งกำเนิดแสง) จะทำการอ่านรหัสแท่งเริ่มต้นจากส่วนที่เป็นสีขาว (ไควเอ็ดโซน, Quiet zone) ก่อนรูปแท่งสีดำแท่งแรก และทำการอ่านไปจนถึงส่วนที่เป็นสีขาวหลังจากรูปแท่งสีดำแท่งสุดท้าย ถ้าแสงเลเซอร์นั้นฉายออกนอกขอบเขตของรูปสัญลักษณ์ ของรหัสแท่งแล้ว เครื่องจะไม่สามารถอ่านรหัสแท่งได้ ความสูงของรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งนั้นถูกกำหนดมาในมีความสูง ที่เพียงพอทำให้การอ่านรหัสเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ออกนอกขอบเขต ถ้าข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่งเพิ่มขึ้นมากเท่าไร ความยาวของรูปสัญลักษณ์จะยาวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความสูงของรหัสเพิ่มขึ้นตามไปเช่นเดียวกัน

Handheld Computer or Mobile Computer (คอมพิวเตอร์มือถือ) คืออะไร

Handheld Computer or Mobile Computer (คอมพิวเตอร์มือถือ) คืออะไร

Handheld Computer อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ ใช้สำหรับพกพาสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน  หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Personal Digital Assistant (PDA) โดยคอมพิวเตอร์มือถือสามารถป้อนข้อมูลลงเครื่องผ่านคีย์บอร์ดขนาดเล็ก ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ Windows CE และ Windows Mobile เป็นระบบปฎิบัติการในการใช้งาน โดยสามารถไปประยุกต์ใช้การ personal information manager (PIM) ระบบขายสินค้า (VanSales & Sales Force Automation : SmartSales) ระบบบันทึกการทำงาน (Field Force Automation: SmartService) ระบบตรวจนับทรัพย์สิน (Fixed Asset Tracking : SmartTrack) และระบบตรวจนับสินค้าคงคลัง (Physical Stock Checking : QuickCheck) ได้แก่ ตารางเวลา แนะนำการสั่งซื้อ ตรวจสอบประวัติการซื้อของลูกค้า

การเก็บเงินค้างชำระ ระบบควบคุมสินค้าคงคลังบนรถบรรทุก และการตรวจนับสินค้าประจำงวด การรับคืนสินค้าจากลูกค้า การตรวจนับสินค้าคงคลัง เก็บชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ การคำนวณรวดเร็วง่ายดาย และเก็บบันทึกข้อความได้ เป็นต้น

โดย Handheld Computer ที่ผู้ใช้ให้ความสนใจ และนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลาย กับการใช้งานใน คอมพิวเตอร์มือถือ ชนิดนี้ ยี่ห้อที่มีวางขายและค่อนข้างที่จะเป็นที่นิยม เช่น DSIC Bluebird Pidion UROVO และ Bitel ซึ่งเหล่าผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มือถือจะเป็นทั้งกลุ่มธุรกิจการกระจายสินค้า ธุรกิจการผลิต ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งรัฐบาลและเอกชน

Android, HandHeld Mobile, Point Mobile, Window Mobile, WindowcCE, หน้าจอทัสกรีน, เครื่องสแกนบาร์โค้ดไร้สาย, เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ, เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส, โมบายสแกนเนอร์,Handheld Computer,อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ,ระบบขายสินค้า,ระบบบันทึกการทำงาน,ระบบตรวจนับทรัพย์สิน,ระบบตรวจนับสินค้าคงคลัง,

HandHeld Mobile,เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย,หน้าจอทัสกรีน,WindowcCE,Window Mobile,Android,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบพกพา,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย,Point Mobile,โมบายสแกนเนอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ,เครื่องสแกนบาร์โค้ดไร้สาย

MOBILE SCANNER เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบพกพา

HandHeld Mobile เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย ถูกออกแบบ ให้มาใช้งานกับ บารโค้ด ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ สามารถส่งผ่านข้อมูล โดย Wifi , Bluetooth หรือสาย Usb ส่วนมาก เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ จะถูกออกแบบมาให้มีความทนทานสูงต่อการใช้งาน มีหน้าจอทัสกรีน สามารถป้องกันฝุ่น ป้องกันน้ำ ทนต่อการตกหล่น มี Sofware ระบบปฏิบัติการ WindowcCE  ,Window Mobile , Android

HandHeld Mobile,เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย,หน้าจอทัสกรีน,WindowcCE,Window Mobile,Android,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบพกพา,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย,Point Mobile,โมบายสแกนเนอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ,เครื่องสแกนบาร์โค้ดไร้สาย HandHeld Mobile,เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย,หน้าจอทัสกรีน,WindowcCE,Window Mobile,Android,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบพกพา,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย,Point Mobile,โมบายสแกนเนอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ดมือถือ,เครื่องสแกนบาร์โค้ดไร้สาย


เหมาะกับ อุตสาหกรรมประเภท คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า งานเช็คสต็อค งานโลจิคสติค

การดูแลรักษาเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย

ในการจะนำข้อมูลออกมาจากบาร์โค้ดได้นั้น เครื่องอ่านบาร์โค้ดถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถึงแม้เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะถูกใช้งานเฉพาะการอ่านบาร์โค้ดเท่านั้น มันก็ยังจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา เพราะถ้าหากเอาแต่ใช้งานเพียงอย่างเดียว สักวันหนึ่งมันก็ต้องเกิดการชำรุดเสียหายใช้งานได้ไม่ดีเหมือนเดิม จนบางทีต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่มาใช้งานเลยทีเดียว

ทีนี้ หลายคนคงจะสงสัยว่าในเมื่อเรารู้อยู่แล้ว ว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบตั้งโต๊ะและแบบเคลื่อนที่ แล้วเราต้องมีวิธีดูแลรักษาเครื่องทั้ง 2 แบบนั้นอย่างไรละ แล้ววิธีการดูแลจะต่างกันมากไหม ขอบอกว่าแม้จะเครื่องแบบตั้งโต๊ะ แบบเคลื่อนที่หรือแบบจับขโมย ก็ล้วนแต่มีวิธีดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน ไม่ต้องมีวิธีการเฉพาะสำหรับเครื่องแต่ละแบบ ส่วนการดูแลรักษาจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

อย่างแรก คือ ต้องรู้จักทำความสะอาดเครื่องอยู่เสมอ อย่าให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเกาะ เพราะแม้จะเป็นฝุ่นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำงานผิดเพี้ยนได้ ซึ่งวิธีการทำความสะอาดก็ง่ายมาก เพียงแค่ใช้ผ้าสะอาด ชุบน้ำบิดหมาด ๆ แล้วนำมาเช็ดที่ตัวเครื่อง ยกเว้นบริเวณหัวอ่าน ขอให้ใช้สำลีแห้งในการเช็ดเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญ คือ อย่าเอาพวกน้ำยาเคมี น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน มาเช็ดทำความสะอาดเครื่องอ่านบาร์โค้ดเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหายและอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเครื่องเริ่มมีสีซีด เก่า ไปตามสภาพ ไม่ได้เปื้อนสิ่งสกปรกอะไร ก็ไม่ควรขัด ถูอย่างรุนแรง โดยหวังจะให้เครื่องกลับมาเอี่ยมอีกครั้ง เพราะอาจทำให้ชิ้นส่วนบางอย่างได้รับความเสียหายได้ ขอให้ทำใจ ว่าอะไรเช็ดได้ก็เช็ดไป แต่อะไรเช็ดไม่ได้ก็ปล่อยมัน

การดูแลรักษาประการที่สอง คือ อย่าใช้งานเครื่องอ่านบาร์โค้ดติด ๆ กัน เป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นในเครื่องนำมาซึ่งอายุการใช้งานของเครื่องที่สั้นลง อย่างน้อยที่สุดขอให้ใช้งานสัก 2 ชั่วโมง แล้วพักสักครึ่งชั่วโมง พอเครื่องหายร้อนแล้วค่อยใช้งานใหม่ โมบายสแกนเนอร์ การพักเครื่องจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องอ่านบาร์โค้ดออกไปได้มากเลยทีเดียว

การดูแลรักษาข้อสุดท้าย คือ ต้องหมั่นเช็คสภาพของเครื่องอ่านบาร์โค้ดอยู่เสมอ ต่อให้ยังทำงานดีอยู่ก็ตาม เพราะบางครั้งอาจมีอุปกรณ์บางอย่างเสียอยู่ภายใน แต่ไม่แสดงอาการออกมา การเช็คสภาพของเครื่องอยู่เสมอจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาในเครื่องได้อย่างทันท่วงที ไม่ปล่อยให้ปัญหาลุกลามบานปลายจนเครื่องเสียไปเลย ไม่สามารถใช้งานได้อีกตลอดกาล

ทั้ง 3 ข้อนี้ ก็คือ การดูแลรักษาเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบหลัก ๆ ที่ทุกบริษัท ทุกองค์กรควรทำ หากบริษัทใดนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้กับเครื่องอ่านบาร์โค้ดของตนเอง รับรองว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดของท่านจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานไม่มีปัญหาใด ๆ ตามมาอย่างแน่นอน

Barcode Scanner,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา,เครื่องอ่านบัตร,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD,• เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง

Barcode Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด คืออะไร

Barcode Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด คืออะไร

Barcode Scanner,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา,เครื่องอ่านบัตร,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD,• เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง

Barcode Scanner หรือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์

หน้าที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

  1. หา Elements ที่ถูกต้องของ Bar และ Space
  2. กำหนดส่วนกว้างของแต่ละ Bar และ Space
  3. จัดกลุ่มของบาร์โค้ดที่อ่านเข้ามา
  4. นำ Element Widths เปรียบเทียบกับรูปแบบตารางบาร์โค้ด
  5. ตรวจสอบ Start/Stop Characters เวลาที่มีการอ่านกลับทิศทาง
  6. ยืนยัน Quiet Zone ทั้งสองข้างของบาร์โค้ด
  7. ยืนยันความถูกต้องของ Check Characters

หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด

  1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด
  2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
  3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
  4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้

1.เครื่องอ่าน (Reader)

ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด หรือ แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด และกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์

2.รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด

ฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับมาที่ตัวรับแสง

3.เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า

ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสง ที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า

4.เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้

สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ ตัวถอดรหัส (Decoder) และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้

Barcode Scanner,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา,เครื่องอ่านบัตร,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD,• เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง

สรุปหลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด แล้วรับแสงที่สะท้อนกลับจากแท่งบาร์โค้ด ซึ่ง Space จะสะท้อนแสงได้ดีกว่าแท่งBar จากนั้นปริมาณแสงสะท้อนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วถูกส่งต่อไปยังตัวถอดรหัส (Decoder) และแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้

ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

      เครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable) และ  เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่(Fixed Positioning Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้  (Portable)
 เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ส่วนมากจะมีหน่วยความจำในตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลที่อ่านหรือบันทึกด้วยปุ่มกดสามารถนำอุปกรณ์ไปใช้ได้ง่ายโดยสามารถพกพาได้ การอ่านรหัสแต่ละครั้งจะนำเอาเครื่องอ่านเข้าไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ ส่วนมากเครื่องอ่านลักษณะนี้จะมีน้ำหนักเบา ส่วนแบบที่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองจะทำงานแบบไร้สายเหมือนโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ภายในบ้านซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่  (Fixed Positioning Scanners)
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ส่วนมากจะติดตั้งกับด้านข้าง หรือตำแหน่งใดๆ ที่เหมาะสมในแนวทางวิ่งของสายพานลำเลียง เพื่ออ่านรหัสที่ติดกับบรรจุภัณฑ์และเคลื่อนที่ผ่านไปตามระบบสายพานลำเลียง บางครั้งเครื่องอ่านประเภทนี้จะติดตั้งภายในอุปกรณ์ของระบบสายพานลำเลียงเพื่อให้สามารถอ่านได้โดยอัตโนมัติ  อีกรูปแบบที่เราเห็นกันมาก จะฝังอยู่ที่โต๊ะแคชเชียร์ ตามห้างสรรพสินค้า โดยแคชเชียร์จะนำสินค้าด้านที่มีบาร์โค้ดมาจ่อหนาเครื่องอ่านที่ถูกฝังไว้กับโต๊ะ หรือตั้งไว้ด้านข้าง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าตัวเครื่อง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส (Contact Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ดประเภทนี้ เป็นอุปกรณ์ที่เวลาอ่าน ต้องสัมผัสกับผิวหน้าของรหัสแท่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา (Pen Scanner) หรือแวนด์ (Wand) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีลักษณะเหมือนหัวปากกา โดยมีปลายปากกาเป็นอุปกรณ์สำหรับผลิตลำแสงเพื่ออ่านข้อมูล น้ำหนักเบา พกพาสะดวก  มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพฉลากต้องดีมาก เพราะหัวอ่านที่สัมผัสบนรหัสแท่งอาจจะทำให้รหัสลบหรือเสียหายได้ เหมาะสำหรับอ่านบาร์โค้ดบนเอกสารหรือคูปอง
  • เครื่องอ่านบัตร (Slot Scanner) เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้อ่านรหัสแท่งจากบัตรหรือวัสดุอื่น โดยต้องรูดบัตรที่มีบาร์โค้ดนั้นลงในช่องเพื่ออ่านข้อมูล เหมาะสำหรับรูดบัตรที่มีบาร์โค้ด อ่านรหัสบาร์โค้ดจากบัตรประจำตัว เพื่อบันทึกเวลาหรือดูข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเจ้าของบัตรเอง

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส (Non Contact Scanner)

เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีหลายรูปแบบจากแบบง่ายๆ ที่ลักษณะคล้ายปีนที่เห็นตามร้านค้าปลีก จนถึงระบบแบบ Pocket PC สามารถอ่านโดยห่างจากรหัสแท่งได้ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก โดยแบ่งเป็นหลายชนิดดังนี้

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD (Charge Coupled Device Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านราคาถูก การทำงานจะอาศัยการสะท้อนของแสงจากรหัสแท่งและช่องว่างแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณวีดีโอ เครื่องอ่านแบบนี้ในขณะอ่านจะไม่มีการเคลื่อนที่ชิ้นส่วน ความแม่นยำจะสูงกว่าแบบเลเซอร์ ใช้พลังงานน้อย อายุการใช้งานของอุปกรณ์ในการสร้างลำแสง (LED) จะยาวนานกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบนี้ยังเป็นแบบตัดวงจรไฟอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการใช้งาน
  • เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging โดย เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้หลักการอ่านโดยวิธีจับภาพโดยเลนซ์รับภาพเช่นเดียวกับกล้องถ่ายรูป ทำให้ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ เนื่องจากใช้การอ่านด้วยตัวเลนซ์รับภาพทำให้จับภาพได้ระยะไกลขึ้น อ่านได้เร็วถึง 100-450 scan ต่อวินาที ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Linear Imaging มีความสามารถในการอ่านและความเร็วในการอ่านเหนือว่าการอ่านแบบ CCD แต่มีความทนทานเหมือนกัน และอ่านในระยะไกลได้เทียบเท่ามาตรฐานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ( Laser Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิดนี้มีวิธีการทำงาน คือเมื่อกดปุ่มอ่านรหัสจะเกิดลำแสงเลเซอร์ซึ่งมีกระจกเงาเคลื่อนที่มารับแสงแล้วสะท้อนไปตกกระทบกับรหัส และผ่านเป็นแนวเส้นตรงเพียงครั้งเดียว ลำแสงที่ยิงออกมาจะมีขนาดเล็กด้วยความถี่เดียว ไม่กระจายออกไปนอกเขตที่ต้องการทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น (Raster) เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้งอยู่กับที่โดยอ่านบาร์โค้ดที่กล่องซึ่งมีตำแหน่งบาร์โค้ดไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน โดยทั่วไปเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้จะมี เส้นเลเซอร์ตั้งแต่ 2-10 เส้น เป็นแสงเลเซอร์ในแนวขนานกัน

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง(Omni-Direction) เป็นแสงเลเซอร์ มากกว่า 10 เส้นอยู่ในแนวขนานและตัดกันไปมาเหมือนตาข่ายทำให้สามารถอ่านบาร์โค้ดได้หลายทิศทาง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องสแกนบาร์โค้ด,Barcode Scanner,CCD Scanner ,Laser Scanner,Imager Scanner,สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด

ข้อควรรู้สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก และใช้งานได้จริง!

ข้อควรรู้สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก และใช้งานได้จริง!

สำหรับเจ้าของกิจการร้านค้าหรือผู้ที่กำลังมองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกๆ และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ว่าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน กลัวเลือกผิด กลัวได้ไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่ตัวเองต้องการ ก่อนอื่นท่านคิดว่าตัวเองรู้จักอุปกรณ์ Barcode Scanner ดีแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ดีพอ วันนี้เรามีข้อมูล หรือข้อควรรู้ก่อนที่จะตัดใจเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกสักหนึ่งชิ้น ลองไปดูกันเลยครับ .. เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือ Barcode Scanner คืออะไร? อุปกรณ์ชนิดนี้มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือตัวเลขเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตัวเลขในที่นี้ก็คือรหัสสินค้าที่ในระบบสินค้าคงคลังเพื่อช่วยจัดเก็บข้อมูลนั่นเอง คล้ายๆการป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ด แต่ว่าจะมีความสามารถเพิ่มเติมจากคีย์บอร์ดมาตรงที่ในการอ่านบาร์โค้ดแล้วนำไปประมวลผลก่อนส่งต่อให้กับระบบ เนื่องจากมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก ถ้าหากใช้ระบบแบบคนคีย์ข้อมูล คีย์ตัวเลขก็อาจจะผิดพลาดได้ เวลาป้อนข้อมูล เรียกใช้งาน หรือตรวจสอบจึงจะไม่ค่อยสะดวก มีโอกาสเสี่ยงผิดพลาดได้เยอะ ดังนั้นการที่ใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในความแม่นยำและความรวดเร็วในการทำงานและการตรวจสอบต่างๆ เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเคลื่อนย้ายได้ และ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบติดกับที่ (ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้) โดย เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่มักจะมีหน่วยความจำในตัวเองเพื่อบันทึกข้อมูลที่อ่านบาร์โค้ดได้ด้วยการกดปุ่ม อุปกรณ์สามารถพกพาได้จึงทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน เพราะเครื่องแบบพกพาได้จะมีขนาดเบา วิธีการนำเครื่องไปอ่านบาร์โค้ดก็คือพกพาเครื่องอ่านไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ แต่สำหรับเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบที่พกพาได้แต่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองไว้เก็บข้อมูลก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง การใช้งานก็จะไม่สะดวกสบายเท่าแบบที่มีหน่วยความจำในตัวเอง

สำหรับเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบติดกับที่ ส่วนใหญ่จะติดอยู่กับตำแหน่งที่โต๊ะแคชเชียร์ที่มีสายพานไว้วิ่งสินค้า (ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ) เครื่องอ่านชนิดนี้จะไม่สามารถเครื่องย้ายได้ มักจะติดหรือฝังไว้กับโต๊ะ เมื่อสินค้าเคลื่อนไหวผ่านหน้าตัวเครื่อง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ

การเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติต่างๆของเครื่องอ่านบาร์โค้ดด้วย อย่าเพียงแต่มองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกอย่างเดียว เพราะถ้าซื้อมาผิดประเภทจากที่ต้องใช้งานจะกลายเป็นว่าเสียเงินฟรี ต้องคำนึงถึงว่าสามารถยิงสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดที่ติดอยู่บนสินค้าของท่านได้หรือไม่ นอกจากคำนึงถึงเรื่องการใช้งานแล้ว เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามแต่ชนิดของหัวอ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกหรือแพงก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของมันและข้อแตกต่างทางการใช้งาน แบ่งออกได้ตามนี้

  1. CCD Scanner (Charge Coupled Device Scanner) มีข้อดีเมื่อต้องใช้งานในที่ที่มีแสงสว่างมากๆ รวมถึงเวลาที่ต้องใช้งานกลางแจน ส่วนข้อเสียนั้นคือเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดนี้ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดความกว้างมากกว่าหน้าจอนำเข้าของตัวเครื่องได้ เวลาที่จะใช้เครื่องตัวนี้อ่านบาร์โค้ดจะต้องใช้กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดที่ถูกติดไว้กับวัตถุหรือสินค้าพื้นผิวเรียบเท่านั้น และต้องยิงในระยะห่างจากสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดไม่เกิน 1 นิ้ว โดยเครื่อง CCD Scanner จะมีลักษณะเป็นปืนยิง ใครที่มองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก CCD Scanner ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ
  2. Laser Scanner มีทั้งแบบที่พกพาได้และติดตั้งอยู่กับที่ ข้อดีคือในการอ่านไม่ต้องใกล้กับตัวบาร์โค้ด การทำงานจะใช้ระบบกระจกและเลนส์ โดยใช้การยิงแสงเลเซอร์ผ่านกระจกออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว จึงทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ เพราะเส้นเลเซอร์มีขนาดเล็กและถี่ สามารถอ่านได้ห่างมากถึง 24 นิ้ว ราคาก็จะกลางๆไม่แพงมากสำหรับเครื่องที่อ่านแบบใช้การยิงเลเซอร์ จึงถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกแบบอัพขั้นขึ้นมาอีกหน่อย
  3. Imager Scanner คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ใช้หลักในการจับภาพของสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด คล้ายๆกล้องถ่ายรูป จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Camera Reader ข้อดีคือสามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กๆได้ รวมถึงยังสามารถยิงบาร์โค้ดในระยะที่ไกลกว่าเดิมได้มากยิ่งขึ้น แต่การประมวลผลจะค่อนข้างช้ากว่าแบบ Laser Scanner เครื่องอ่านชนิดนี้จะใช้วิธีการประมวลข้อมูลจากตัวบาร์โค้ดได้อย่างทันสมัย
  4. Omni-directional Scanner คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานจะค่อนข้างคล้าย Laser Scanner แต่จะต่างกันตรงที่มีการฉายแสงออกมาแบบหลายทิศทาง และแสงที่ฉายออกมาจะมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม (ตัดกันไปตัดกันมา) เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่ได้มีการติดตำแหน่งบาร์โค้ดให้อยู่ในจุดเดียวกัน เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดนี้จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่ว่าราคาก็จะสูงกว่าแบบ Laser scanner ส่วนใหญ่เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดนี้เราจะเห็นได้บ่อยในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ ดังนั้นใครที่ต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก ก็อาจจะต้องมองข้ามตัวนี้ไป

 

เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกซื้อก็ต้องหาข้อมูลดีๆ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่แพงก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป บางทีเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก อาจจะใช้งานได้เหมาะสมกับธุรกิจของท่านมากกว่า  แต่จริงๆแล้วอยากให้มองเรื่องราคาเป็นรอง ให้มองที่คุณภาพและบริการหลังการขายจะดีกว่า เลือกที่ราคาสมเหตุสมผล สินค้าแต่ละยี่ห้อ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของแต่ละคน