บาร์โค้ด มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร?

บาร์โค้ด มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร?

บาร์ โค้ด หมายถึง เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์สี ขาว-ดำ เรียงเข้าด้วยกัน และประกอบด้วยตัวเลข มี 8-13 หลัก สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิด และสินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ

การออกเลขหมายให้กับสินค้าแต่ละตัวจะช่วยให้การติดต่อกันระหว่างผู้ค้า (ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก) สามารถทำงานได้เร็วราวและราบรื่นขึ้น เปรียบได้กับบัตรประจำตัวประชาชนที่เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างกันของแต่ละคน เลขหมายประจำตัวสินค้าก็เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความแตกต่างของสินค้าชนิดนั้นกับสินค้าอื่น ๆ

สินค้าทุกชนิดที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ขนาด สี จำนวนบรรจุ จะมีเลขหมายประจำตัวสินค้าต่างกัน ตัวอย่างเช่น ไอศกรีมรสวนิลาจะมีเลขหมายประจำตัวคนละเลขหมายต่างจากไอศกรีมรสช็อกโกแลต หรือในกรณีกล่องใหญ่ที่บรรจุด้วยถ้วย 12 ใบ จะมีเลขหมายประจำตัวแตกต่างจากถ้วย 1 ใบ

บาร์โค้ดช่วยอะไรได้บ้าง

การนำบาร์โค้ดมาใช้ในธุรกิจการค้าจะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ

ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง

ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า หรือสินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ดี มีสินค้าคงเหลือจำนวนเท่าใด  ยกระดับมาตรฐานของสินค้า การระบุแหล่งผลิตของประเทศในแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้าและสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดของต่างประเทศ รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดี มีความน่าเชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตและติดต่อซื้อ-ขายกันได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ใช้กับธุรกิจใดบ้าง

ด้านผู้ผลิต เลขหมายประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการ “หีบห่อก่อผลกำไรงาม” เลขหมายประจำตัวของผู้ผลิตแต่ละรายจะมีส่วนช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพของสินค้าและแหล่งติดต่อของผู้ผลิต โอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตจึงเปิดกว้างไปอีกมาก

สำหรับผู้ค้าส่งหรือผู้นำเข้าในต่างประเทศ มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่จะสามารถจัดหาสินค้าได้สะดวกและกว้างขวางออกไป ตลอดจนมีโอกาสซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านการขายและสินค้าคงคลัง

กับระบบการค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าปลีกขนาดใหญ่แบบ Supermarket หรือ Mass market ระบบเลขหมายประจำตัวสินค้าและสัญลักษณ์รหัสแท่ง จะช่วยให้การคิดเงินและการเก็บเงินของพนักงานถูกต้องและรวดเร็วมาก จึงสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังไม่ต้องติดป้ายบอกราคาสินค้าซึ่งมีเป็นจำนวนมากบนสินค้าแต่ละชิ้น ทำให้ลดปริมาณงานลงและสะดวกต่อการปรับราคาขาย

สะดวก & แม่นยำ

ลักษณะการทำงาน บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้นเครื่องสแกนเนอร์มีชนิดต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออ่านบาร์โค้ดที่ได้รับการพิมพ์อย่างถูกต้อง เครื่องสแกนเนอร์จะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์กลาง เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการซื้อเข้าและการขายออกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

บาร์โค้ด คืออะไร ??

บาร์โค้ด  คืออะไร ??

บาร์ โค้ด (Barcode) เป็นรหัสแท่งประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่าย ขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้น สำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรม และสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียก ว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 1987

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR BarcodeBARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

โดยหลักการแล้ว บาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงาน รวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของ อุตสาหกรรม การค้าขาย และการบริการ ที่ต้องใช้การบริหารจัดการข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์  และปัจจุบันมีกระประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของ Mobile Computer ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บ แสดงผล ตรวจสอบ และประมวลในด้านอื่นๆ ได้ด้วย

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

บาร์โค้ด 2 มิติ

บาร์ โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษร หรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือ เกาหลี เป็นต้น และบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดี หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัส ไว้ ลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่มากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกันกับบาร์โค้ด 1 มิติ

บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. บาร์โค้ด 2 มิติ แบบสแต๊ก (Stacked Barcode)

บาร์ โค้ดแบบสแต๊กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแนว มีการทำงานโดยอ่านภาพบาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความกว้างนี้ทำให้สามารถถอดรหัสจากที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์ดค้ดแบบสแต๊กสามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย และการอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นด้านบน  ตัวอย่างบาร์โค้ดแบบสแต๊ก คือ บาร์โค้ดแบบ PDF417 (Portable Data File)

  1. บาร์โค้ด 2 มิติ แบบเมตริกซ์ (Matrix Codes)

บาร์ โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบ สแต๊กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่นของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือมีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว ตัวอย่างของบาร์โค้ดแบบแมตริกซ์ คือ บาร์โค้ดแบบ MaxiCode , บาร์โค้ดแบบ Data Matrix ,บาร์โค้ดแบบ QR Code

ข้อดีของการใช้บาร์โค้ด

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : บาร์โค้ดจะช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และมีความเที่ยงตรง แม่นยำมากในการจัดเก็บข้อมุลต่างๆ ตัวอย่างเช่น ในบางขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ต้องการความรวดเร็ว มีการติดตามงานที่แม่นยำ ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการติดตามสถานะของวัตถุดิบ สินค้า หรือส่วนอื่นๆ ในสายการปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องระมัดระวังทุกขั้นตอนในการดำเนินการ จะช่วยลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดในกระบวนการทำงานได้ มากขึ้น
  • ประหยัดเวลา : โดยปกติคุณอาจต้องการพนักงาน 20 คนในการเช็คสต๊อกกลางปีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่สำหรับระบบบาร์โค้ดคุณต้องการเพียงพนักงาน 3 คนและใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมงในการเช็คสต๊อกให้เรียบร้อย ในการดำเนินงานในแต่ละวัน ถ้ามีการขนส่งสินค้า 20 กล่อง จากเดิมที่คุณต้องใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการจดรหัสสินค้า และเลขซีเรียล แต่คุณจะใช้เวลาเพียง 15-30 วินาทีเท่านั้นในการสแกนบาร์โค้ด นอกจากจะประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากรบุคคลแล้ว ระบบบาร์โค้ดยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นอย่างมาก
  • ลดข้อผิดพลาด : ข้อผิดพลาดที่เกิดในการจัดการข้อมูลบางครั้งอาจจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ ได้ รวมถึงทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์และยังทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจด้วย ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานใส่ข้อมูลผิดพลาด แต่ถ้าใช้บาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูล ความเที่ยงตรง แม่นยำที่มากกว่า จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เป็นอย่างมาก
  • ลดค่าใช้จ่าย เมื่อบาร์โค้ดมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลามากขึ้น ลดอัตราการจ้างงาน คุณก็จะประหยัดเวลาในการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในโครงการต่างๆ

การทำงานของบาร์โค้ด

เครื่อง อ่านบาร์โค้ด จะทำงานโดยแยกความกว้างระหว่างพื้นที่มืดและพื้นที่สว่างออกมาเป็นรหัสตัว เลข เมื่อแสงจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดมากระทบบาร์โค้ดในลักษณะวางพาดขวาง แสงสะท้อนที่ออกจากเส้นมืดจะน้อยกว่าแสงที่สะท้อนออกจากพื้นที่สว่าง เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแปลงแสงสะท้อนนี้เป็นรหัสไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เครื่องมือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา

มีบาร์โค้ดบางแบบที่มีการตรวจสอบความ ถูกต้องของบาร์โค้ด โดยมีการคำนวนเลขตรวจสอบ (Check digit Calculation) และแสดงค่านั้นๆ มาท้ายของข้อมูลที่อ่านได้ เช่นบาร์โค้ดในแบบ UPC/EAN และการอ่านบาร์โค้ดจะแสดงผลทั้งการอ่านปกติและผลของการเปรียบเทียบของการ ตรวจสอบบาร์โค้ด และเมื่อพบข้อผิดพลาดของข้อมูลในตัวบาร์โค้ด  เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือโปรแกรมที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดจะแสดงข้อผิดพลาดดังกล่าวออกมา เพื่อทำการแก้ไข และให้ทำการอ่านบาร์โค้ดหรือพิมพ์บาร์โค้ดใหม่อีกครั้ง บาร์ โค้ดในแต่ละแบบมีรูปแบบของลักษณะแท่งบาร์โค้ดที่แต่งต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแท่งบาร์โค้ด ลักษณะการจัดวางตัวอักษร/ตัวเลข วิธีการบันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด และอื่นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้งานมักจะสนใจคุณสมบัติการใช้งานมากกว่าข้อมูลทางด้าน เทคนิคของบาร์โค้ดนั้นๆ

ระบบบาร์โค้ดในงานอุตสาหกรรมการผลิต

ในยุคปัจจุบันนี้บาร์โค้ดหรือรหัสแท่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตของคนเราคุณสามารถพบเห็นรหัสแท่งได้เกือบทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าทั่วไป โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถานกักขัง ฟาร์ม หรือแม้กระทั่งบนสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านของคุณ รหัสแท่งเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราไปโดยปริยาย หากแต่รหัสแท่งเหล่านี้คืออะไร และมันให้ประโยชน์อะไรบ้าง

มันไม่น่าแปลกใจเลยที่คุณจะไม่รู้เรื่องและรู้สึกสับสนกับ รหัสแท่งเหล่านี้ที่อยู่บนซองบรรจุอาหาร กล่องสินค้า ซองจดหมาย สายรัดข้อมือคนไข้ในโรงพยาบาล และสิ่งต่าง ๆ อีกมากมาย ดูผิวเผินแล้วรหัสแท่งเหล่านี้มีลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้วรหัสแท่งแต่ละอันนั้นมันแตกต่างกัน ในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีมาตรฐานของรหัสแท่งที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะอธิบายต่อไปภายหลัง หากคุณต้องการที่จะติดตั้งระบบการจัดการข้อมูล โดยใช้รหัสแท่งแล้ว คุณต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเลือกใช้ระบบรหัสแท่งที่ถูกต้องเหมาะสม กับธุรกิจและการใช้งานของคุณ

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะสามารถหาคำตอบที่คุณสงสัยเกี่ยวกับรหัสแท่ง การทำงานของรหัสแท่ง เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ เลือกหา และตัดสินใจเลือกใช้งานระบบการจัดการข้อมูล โดยใช้รหัสแท่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรหัสแท่ง
  • รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง
  • สแกนเนอร์ (Scanner)—แบบฟิกซ์ (Fixed), แบบแป้นพิมพ์ชนิดพกพา, และแบบไร้สาย
  • การผนวกระบบจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่งเข้ากับระบบงานเดิมที่ใช้อยู่
  • ซอฟต์แวร์ (Software) ระบบจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่ง
  • การจัดพิมพ์รหัสแท่ง
  • ลักษณะการประยุกต์ใช้งานและอุตสาหกรรมที่ใช้รหัสแท่ง
  • คำถามที่ควรถามในการเลือกซื้อระบบจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่ง
  • อื่น ๆ

จุดประสงค์ในการนำเสนอ ความรู้เบื้องต้นเรื่องรหัสแท่ง นี้เพื่อให้นักธุรกิจมืออาชีพอย่างคุณ ได้เข้าใจถึงประโยชน์ต่าง ๆ ของการนำระบบการจัดการข้อมูลโดยใช้รหัสแท่ง ไปใช้กับธุรกิจของคุณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มผลกำไรของการประกอบการ

ซ่อนอะไรไว้ระหว่างแท่ง

สิ่งแรกคือคุณไม่ต้องไปกลัวเมื่อเห็นรหัสแท่ง คุณไม่จำเป็นจะต้องเป็นอัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ถูกเก็บไว้ในรหัสแท่ง จริง ๆ แล้วรหัสแท่งก็เป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีการในการเขียนตัวเลข และตัวหนังสือ โดยใช้สัญลักษณ์แท่งและช่องว่างที่ไม่เท่ากัน ประกอบกันเป็นรูปสัญลักษณ์ หรือในอีกมุมมองหนึ่ง รหัสแท่งก็คืออีกหนึ่งวิธีของการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แทน ที่จะนั่งพิมพ์ข้อมูลโดยใช้แป้นพิมพ์ สำหรับ ธุรกิจที่มีการนำรหัสแท่งไปใช้งานอย่างถูกวิธีและเหมาะสมแล้ว จะช่วยทำให้ลดความเสียหายและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลประกอบการเพิ่มขึ้นด้วยพูดง่าย ๆ ก็คือการใช้รหัสแท่งจะช่วยทำให้การป้อนข้อมูลสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้อาจจะทำให้คุณแปลกใจอยู่บ้าง รหัสแท่งไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกับเลขประจำตัวประชาชนของคุณที่ไม่ได้เก็บข้อมูล ชื่อและที่อยู่ของคุณ รหัสแท่งเก็บแค่ตัวเลขอ้างอิงที่ใช้เพื่อเรียกดูรายละเอียด ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

ตัวอย่าง: รหัสแท่งที่อยู่บนขนมปังจะไม่มีชื่อของสินค้า ประเภทของขนมปัง หรือราคาของขนมปัง ข้อมูลที่เก็บอยู่บนรหัสแท่งก็คือตัวเลข 12 หลักหนึ่งชุด หลังจากที่ตัวเลขนี้ถูกอ่านผ่านเครื่องเก็บเงินแล้ว มันจะถูกส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะทำการเรียกหา

และดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขชุดนี้ขึ้นมาจากระบบฐานข้อมูล เช่นรายละเอียดของสินค้า ชื่อบริษัทคู่ค้า ราคาสินค้า สต็อกที่เหลืออยู่ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ราคาสินค้า จะปรากฏที่หน้าจอของเครื่องเก็บเงิน (ซึ่งระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้าออกจากระบบทันที) กระบวนการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ถ้าไม่มีการใช้รหัสแท่งพนักงานเก็บเงินจะต้องทำการป้อนรหัสสินค้าทั้งหมดทุกชิ้นที่เป็นตัวเลข 12 หลักด้วยตัวเองซึ่งอาจจะใช้เวลามากขึ้นและอาจป้อนข้อมูลผิดพลาดได้

โดยสรุปแล้วรหัสแท่งเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขรหัสสินค้า ซึ่งเมื่อมีการอ่านผ่านสแกนเนอร์แล้ว ตัวเลขดังกล่าวจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อทำการค้นหา และแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขชุดนั้น

รูปสัญลักษณ์: ความหมาย

การใช้สัญลักษณ์ถือได้ว่า เป็นภาษาของรหัสแท่งเลยทีเดียว ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นเมื่อคุณเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสคุณก็ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสในการติดต่อสื่อสาร ในทำนองเดียวกันภาษาของรหัสแท่งคือภาษาสัญลักษณ์  ซึ่งต้องใช้สแกนเนอร์เป็นตัวอ่าน รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ สแกนเนอร์อ่านข้อมูล ที่เก็บอยู่ในรหัสแท่งได้ถูกต้อง และเมื่อคุณต้องการที่จะพิมพ์รหัสแท่ง รูปสัญลักษณ์นี้ก็จะเป็นตัวบอกให้ เครื่องพิมพ์ ทำการพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงบนฉลากของตัวสินค้า

รูปสัญลักษณ์ประเภทต่าง ๆ ของรหัสแท่ง

รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งมีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้วเราจะคุ้นเคยกับรูป สัญลักษณ์ของรหัสแท่ง ที่ใช้ตามร้านขายของอุปโภคบริโภคทั่วไป หรือซุปเปอร์มาร์เกต แต่ในความเป็นจริงแล้วรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งมีหลายรูปแบบ แล้วแต่ประเภทของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ด้านการผลิต หรือด้านธุรกิจขายปลีก ซึ่งรูปสัญลักษณ์นี้ใช้ได้เฉพาะอุตสาหกรรมหรือธุรกิจของใครของมัน ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ คุณอาจจะมีคำถามว่าทำไมจะต้องมีรูปสัญลักษณ์ ของรหัสแท่งที่แตกต่างกันด้วย คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ รูปสัญลักษณ์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ เท่านั้น รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

บาร์โค้ดแบบตัวเลข

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

ยูพีซี/อีเอเอ็น (UPC/EAN)

รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งประเภทนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้สำหรับการเก็บเงิน (check out) ยูพีซีเป็นรหัสแท่งที่มีความยาวของรหัสแท่งที่แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเป็นมาตรฐาน ที่ถูกกำหนดใช้ในธุรกิจขายปลีกและธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารเท่านั้น ยูพีซีถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานกับมาตรฐาน รหัสสินค้าที่เป็นตัวเลข 12 หลักสำหรับธุรกิจด้านนี้

EAN-13(European Article Numbering international retail product code) เป็นแบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยบาร์โค้ดประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้

3 หลักแรก  คือ รหัสของประเทศที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตได้ทำการลงทะเบียนได้ทำการผลิตจากประเทศไหน

4 หลักถัดมา คือ รหัสโรงงานที่ผลิต

5 หลักถัดมา คือ รหัสของสินค้า

และ ตัวเลขในหลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check digit) แม้ ว่าบาร์โค้ดแบบ EAN-13 จะได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่ในสหรัฐอเมริกาและแคนนาที่เป็นต้นกำเนิดบาร์โค้ดแบบ UPC-A ยังคงมีการใช้บาร์โค้ดแบบเดิม จนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 หน่วยงาน Uniform Code Council ได้ประกาศให้ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 ไปพร้อมๆ กับ UPC-A ที่ใช้อยู่เดิม การออกประกาศในครั้งนี้ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ อเมริกาและแคนาดาต้องใช้บาร์โค้ดทั้ง 2 แบบบนผลิตภัณฑ์

การคำนวนตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ดแบบ EAN-13 (Check digit Calculation)

  • นำตัวเลขในตำแหน่งคู่ (หลักที่ 2,4,6,8,10,12 )มารวมกัน แล้วคูณด้วย 3
  • นำตัวเลขในตำแหน่งคี่ (หลักที่ 1,3,5,7,9,11 )มารวมกัน
  • นำผลลัพท์จากข้อ 1 และ 2 มารวมกัน
  • นำผลลัพท์ที่ได้จากข้อ 3 ทำการ MOD ด้วย 10 จะได้เป็นตัวเลข (Check digit ) ที่จะต้องแสดงในหลักที่ 13

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

EAN-8  เป็นบาร์โค้ดแบบ EAN ที่เหมาะสมหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ใช้หลักการคล้ายกันกับบาร์โค้ดแบบ EAN-13 แต่จำนวนหลักน้อยกว่า คือ จะมีตัวเลช 2 หรือ 3 หลัก แทนรหัสประเทศ  4 หรือ 5 หลักเป็นข้อมูลสินค้า และอีก 1 หลักสำหรับตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check Digit) แต่สามารถขยายจำนวนหลักออกไปได้อีก 2 หรือ 5 หลัก ในลักษณะของ Extension Barcode  (UPC-A+2 , UPC-A+5 ) ซึ่งเป็นคนละลักษณะกับการใช้บาร์โค้ดแบบ UPC-E ที่จะต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบเต็มเหมือน UPC-A แต่ทำการตัด 0 (ศุนย์) ออกข้อมูลตัวเลขในสัญลักษณ์บาร์โค้ดแบบ EAN-8 จะบ่งชี้ถึงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ และเมื่อมีการใช้ EAN-8 มากขึ้นในหลายประเทศ จำนวนของตัวเลขที่นำมาใช้ซึ่งมีจำนวนจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับผู้ใช้จึงหันมา ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 แทน

UPC-A (Universal Product Code) พบมากในธุรกิจค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกา และ แคนนาดา รหัสบาร์โค้ดที่ใช้เป็นแบบ 12 หลัก  หลักที่ 1 เป็นหลักที่ระบุประเภทสินค้า และตัวที่ 12 เป็นหลักที่แสดงตัวเลขที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด      รหัสบาร์โค้ดแบบ UPC มีหน่วยงาน Uniform Council [UCC] ที่ตั้งอยู่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลในการจดทะเบียนบาร์โค้ด

UPC-E  เป็นบาร์โค้ดแบบ UPC ที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ถูกพัฒนามาจากบาร์โค้ดแบบ UPC-A โดยตัดจะเลข 0 (ศูนย์) ออกทั้งหมด บาร์โค้ด UPC-E สามารถพิมพ์ออกมาได้ขนาดเล็กมาก ไว้ใช้สำหรับป้านขนาดเล็กที่ติดบนตัวสินค้า

Interleaved 2 of 5  เป็นรหัสบาร์โค้ดที่ใช้ในระบบรับ-ส่งสินค้า รหัสบาร์โค้ดแบบนี้เหมาะสำหรับพิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก มักใช้ในโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ

บาร์โค้ดที่ใช้ตัวเลขและตัวอักษร

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

โค้ด 39 (Code 39)  รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งประเภทนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา จากความต้องการที่จะนำเอาข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเข้าไปในรหัสแท่ง ด้วย และโค้ด 39 ก็เป็นรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง ที่นิยมใช้มากที่สุดในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยทั่วไปแล้วนิยมนำไปใช้งานด้านการจัดการสินค้าคงคลัง หรือการติดตามความเคลื่อนไหวของวัตถุดิบในโรงงานผลิตสินค้า ความยาวของรูปสัญลักษณ์แบบโค้ด 39 นี้ค่อนข้างยาวและอาจจะไม่เหมาะสมหากฉลากสินค้ามีพื้นที่จำกัด

BARCODE,บาร์โค้ด,แท้งบาร์โค้ด,รหัสบาร์โค้ด,เกี่ยวกับบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องแสกนบาร์โค้ด,Data Matrix,QR Barcode

โค้ด 128 (Code 128)  เนื่องจากโค้ด 39 เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาโค้ด 128 ขึ้นมาใช้งาน และเหมาะสมกับฉลากสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด เพราะรหัสแท่งแบบโค้ด 128 นี้จะกะทัดรัดและดูแน่นกว่าโค้ด 39 โดยทั่วไปแล้วโค้ด 128 นิยมใช้ในอุตสาหกรรม การจัดส่งสินค้าซึ่งมีปัญหาด้านการพิมพ์ฉลาก

บาร์โค้ด 2 มิติ

โพสต์เน็ต (Postnet)

เป็นรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่ถูกพัฒนาสำหรับการไปรษณีย์ ของประเทศอเมริกาโดยเฉพาะ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่งแบบโพสต์เน็ตคือรหัสไปรษณีย์ เพื่อใช้สำหรับการแยกประเภทของจดหมายเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่ง

PDF417 (Portable Data File) เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบสแต๊ก ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยบริษัท Symbol Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกา บาร์โค้ดแบบ PDF417 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 15438 และ AIM USS-PDF417 ลักษณะบาร์โค้ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีส่วนแทนรหัสข้อมูลหรือที่เรียกว่าโมดูลข้อมูล (Data Module) เป็นแถบสีดำและสีขาวเรียงตัวกันหลายๆ แถวทางแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งประกอบด้วย 3 ถึง 90 แถว และ 1 ถึง 30 คอลัมน์ สามารถบรรจถข้อมูลได้มากสุดถึง 2,710 ตัวเลข 1,850 ตัวอักษร 1,018 ไบนารี คำว่า PDF ย่อมาจาก Portable Data File และประกอบไปด้วย 4 แถบ และ 4 ช่องว่างใน 17 โมดูล จึงทำให้ได้หมายเลข 417 เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะสามารถอ่านได้ในทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวา หรือ ขวาไปซ้าย และอ่านจากบนลงล่าง หรือ ล่างขึ้นบน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่บาร์โค้ดแบบ PDF 417 จะนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียด และถูกต้องเป็นพิเศษ พีดีเอฟ417 (PDF417) รูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งแบบพีดีเอฟ417 หรือเรียกอีกอย่างว่า รหัสแท่งสองมิติ เป็นรูปสัญลักษณ์ที่มีความหนาแน่นของรหัสแท่ง มากกว่าปกติและไม่เป็นเส้นตรง ใกล้เคียงกับตารางคำศัพท์อักษรไขว้ที่เคยเห็นอยู่ทั่วไป สิ่งที่ทำให้รหัสแท่งแบบพีดีเอฟ417แตกต่างจากรหัสแท่งแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่ง พีดีเอฟ417 จะเก็บข้อมูลเป็นลักษณะแฟ้มข้อมูลแทนที่จะเป็นข้อมูลตัวเลขอ้างอิง บางรัฐ (ในประเทศอเมริกา) จะนำรหัสแท่งสองมิตินี้ไปใช้บนใบขับขี่ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณได้มากมาย เช่นชื่อของคุณ รูปถ่าย บันทึกข้อหาที่คุณเคยฝ่าฝืนกฎจราจร และข้อมูลอื่น ๆ รูปสัญลักษณ์แบบพีดีเอฟ417 ซึ่งมีขนาดเท่ากับแสตมป์นี้สามารถที่จะเก็บเนื้อหา ของคำประกาศที่เกทตี้ส์เบอร์กได้ทั้งหมด

Data Matrix บาร์โค้ด 2 มิติแบบนี้ ถูกพัฒนาดโดยบริษัท RVSI Acuity Cimatrix ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1989 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16022 และ ANSI/AIM BC11-ISS-Data Matrix ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบาร์โค้ดรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 โมดูล และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 18 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลข หรือ 2.355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่นได้แก่ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของบาร์โค้ดแบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งของด้านซ้ายและด้านล่างของบาร์โค้ด บาร์โค้ด Data Matrix ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็ก

สิ่งที่สำคัญควรจำก็คือ

ถ้าขนาดของแท่งและช่องว่างของรูปสัญลักษณ์ของ รหัสแท่งยิ่งกว้างเท่าไหร่ พื้นที่ที่ใช้พิมพ์รหัสแท่งก็จะกว้างขึ้นไปเท่านั้น เป็นผลให้ความแน่นและความทึบของรหัสแท่งลดลงไปตามกัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าขนาดของแท่งและช่องว่างแคบลงไป พื้นที่ที่ใช้พิมพ์รหัสแท่งก็น้อยลงไป เป็นผลให้ความแน่นและความทึบของรหัสแท่งเพิ่มมากขึ้น

อ่านรหัสแท่งอย่างไร

รหัสแท่งถูกอ่านโดยการฉายแสงพาดไปยังรูปสัญลักษณ์บนฉลาก คุณจะมองเห็นเพียงแสงเลเซอร์สีแดงบาง ๆ ที่ถูกยิงออกมาจากสแกนเนอร์เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันนั้นแสงที่ยิงออกจากสแกนเนอร์นั้นจะถูกดูดซับไว้โดยแท่งสีทึบของรหัสแท่ง และสะท้อนออกไปด้วยช่องว่างสีขาวของรหัสแท่ง เครื่องสแกนเนอร์จะทำการเก็บเอาแสงที่ถูกสะท้อนกลับออกมานั้น แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า

แสงเลเซอร์ที่ยิงออกมาจากสแกนเนอร์ (แหล่งกำเนิดแสง) จะทำการอ่านรหัสแท่งเริ่มต้นจากส่วนที่เป็นสีขาว (ไควเอ็ดโซน, Quiet zone) ก่อนรูปแท่งสีดำแท่งแรก และทำการอ่านไปจนถึงส่วนที่เป็นสีขาวหลังจากรูปแท่งสีดำแท่งสุดท้าย ถ้าแสงเลเซอร์นั้นฉายออกนอกขอบเขตของรูปสัญลักษณ์ ของรหัสแท่งแล้ว เครื่องจะไม่สามารถอ่านรหัสแท่งได้ ความสูงของรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งนั้นถูกกำหนดมาในมีความสูง ที่เพียงพอทำให้การอ่านรหัสเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ออกนอกขอบเขต ถ้าข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่งเพิ่มขึ้นมากเท่าไร ความยาวของรูปสัญลักษณ์จะยาวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความสูงของรหัสเพิ่มขึ้นตามไปเช่นเดียวกัน