Barcode Scanner,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา,เครื่องอ่านบัตร,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD,• เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง

Barcode Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด คืออะไร

Barcode Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด คืออะไร

Barcode Scanner,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา,เครื่องอ่านบัตร,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD,• เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง

Barcode Scanner หรือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์

หน้าที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

  1. หา Elements ที่ถูกต้องของ Bar และ Space
  2. กำหนดส่วนกว้างของแต่ละ Bar และ Space
  3. จัดกลุ่มของบาร์โค้ดที่อ่านเข้ามา
  4. นำ Element Widths เปรียบเทียบกับรูปแบบตารางบาร์โค้ด
  5. ตรวจสอบ Start/Stop Characters เวลาที่มีการอ่านกลับทิศทาง
  6. ยืนยัน Quiet Zone ทั้งสองข้างของบาร์โค้ด
  7. ยืนยันความถูกต้องของ Check Characters

หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด

  1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด
  2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
  3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
  4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้

1.เครื่องอ่าน (Reader)

ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด หรือ แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด และกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์

2.รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด

ฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับมาที่ตัวรับแสง

3.เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า

ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสง ที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า

4.เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้

สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ ตัวถอดรหัส (Decoder) และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้

Barcode Scanner,เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา,เครื่องอ่านบัตร,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD,• เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging,• เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์,เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น,เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง

สรุปหลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด แล้วรับแสงที่สะท้อนกลับจากแท่งบาร์โค้ด ซึ่ง Space จะสะท้อนแสงได้ดีกว่าแท่งBar จากนั้นปริมาณแสงสะท้อนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วถูกส่งต่อไปยังตัวถอดรหัส (Decoder) และแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้

ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

      เครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable) และ  เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่(Fixed Positioning Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้  (Portable)
 เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ส่วนมากจะมีหน่วยความจำในตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลที่อ่านหรือบันทึกด้วยปุ่มกดสามารถนำอุปกรณ์ไปใช้ได้ง่ายโดยสามารถพกพาได้ การอ่านรหัสแต่ละครั้งจะนำเอาเครื่องอ่านเข้าไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ ส่วนมากเครื่องอ่านลักษณะนี้จะมีน้ำหนักเบา ส่วนแบบที่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองจะทำงานแบบไร้สายเหมือนโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ภายในบ้านซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่  (Fixed Positioning Scanners)
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ส่วนมากจะติดตั้งกับด้านข้าง หรือตำแหน่งใดๆ ที่เหมาะสมในแนวทางวิ่งของสายพานลำเลียง เพื่ออ่านรหัสที่ติดกับบรรจุภัณฑ์และเคลื่อนที่ผ่านไปตามระบบสายพานลำเลียง บางครั้งเครื่องอ่านประเภทนี้จะติดตั้งภายในอุปกรณ์ของระบบสายพานลำเลียงเพื่อให้สามารถอ่านได้โดยอัตโนมัติ  อีกรูปแบบที่เราเห็นกันมาก จะฝังอยู่ที่โต๊ะแคชเชียร์ ตามห้างสรรพสินค้า โดยแคชเชียร์จะนำสินค้าด้านที่มีบาร์โค้ดมาจ่อหนาเครื่องอ่านที่ถูกฝังไว้กับโต๊ะ หรือตั้งไว้ด้านข้าง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าตัวเครื่อง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส (Contact Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ดประเภทนี้ เป็นอุปกรณ์ที่เวลาอ่าน ต้องสัมผัสกับผิวหน้าของรหัสแท่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา (Pen Scanner) หรือแวนด์ (Wand) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีลักษณะเหมือนหัวปากกา โดยมีปลายปากกาเป็นอุปกรณ์สำหรับผลิตลำแสงเพื่ออ่านข้อมูล น้ำหนักเบา พกพาสะดวก  มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพฉลากต้องดีมาก เพราะหัวอ่านที่สัมผัสบนรหัสแท่งอาจจะทำให้รหัสลบหรือเสียหายได้ เหมาะสำหรับอ่านบาร์โค้ดบนเอกสารหรือคูปอง
  • เครื่องอ่านบัตร (Slot Scanner) เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้อ่านรหัสแท่งจากบัตรหรือวัสดุอื่น โดยต้องรูดบัตรที่มีบาร์โค้ดนั้นลงในช่องเพื่ออ่านข้อมูล เหมาะสำหรับรูดบัตรที่มีบาร์โค้ด อ่านรหัสบาร์โค้ดจากบัตรประจำตัว เพื่อบันทึกเวลาหรือดูข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเจ้าของบัตรเอง

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส (Non Contact Scanner)

เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีหลายรูปแบบจากแบบง่ายๆ ที่ลักษณะคล้ายปีนที่เห็นตามร้านค้าปลีก จนถึงระบบแบบ Pocket PC สามารถอ่านโดยห่างจากรหัสแท่งได้ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก โดยแบ่งเป็นหลายชนิดดังนี้

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD (Charge Coupled Device Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านราคาถูก การทำงานจะอาศัยการสะท้อนของแสงจากรหัสแท่งและช่องว่างแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณวีดีโอ เครื่องอ่านแบบนี้ในขณะอ่านจะไม่มีการเคลื่อนที่ชิ้นส่วน ความแม่นยำจะสูงกว่าแบบเลเซอร์ ใช้พลังงานน้อย อายุการใช้งานของอุปกรณ์ในการสร้างลำแสง (LED) จะยาวนานกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบนี้ยังเป็นแบบตัดวงจรไฟอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการใช้งาน
  • เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging โดย เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้หลักการอ่านโดยวิธีจับภาพโดยเลนซ์รับภาพเช่นเดียวกับกล้องถ่ายรูป ทำให้ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ เนื่องจากใช้การอ่านด้วยตัวเลนซ์รับภาพทำให้จับภาพได้ระยะไกลขึ้น อ่านได้เร็วถึง 100-450 scan ต่อวินาที ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Linear Imaging มีความสามารถในการอ่านและความเร็วในการอ่านเหนือว่าการอ่านแบบ CCD แต่มีความทนทานเหมือนกัน และอ่านในระยะไกลได้เทียบเท่ามาตรฐานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ( Laser Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิดนี้มีวิธีการทำงาน คือเมื่อกดปุ่มอ่านรหัสจะเกิดลำแสงเลเซอร์ซึ่งมีกระจกเงาเคลื่อนที่มารับแสงแล้วสะท้อนไปตกกระทบกับรหัส และผ่านเป็นแนวเส้นตรงเพียงครั้งเดียว ลำแสงที่ยิงออกมาจะมีขนาดเล็กด้วยความถี่เดียว ไม่กระจายออกไปนอกเขตที่ต้องการทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น (Raster) เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้งอยู่กับที่โดยอ่านบาร์โค้ดที่กล่องซึ่งมีตำแหน่งบาร์โค้ดไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน โดยทั่วไปเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้จะมี เส้นเลเซอร์ตั้งแต่ 2-10 เส้น เป็นแสงเลเซอร์ในแนวขนานกัน

เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง(Omni-Direction) เป็นแสงเลเซอร์ มากกว่า 10 เส้นอยู่ในแนวขนานและตัดกันไปมาเหมือนตาข่ายทำให้สามารถอ่านบาร์โค้ดได้หลายทิศทาง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด,เครื่องสแกนบาร์โค้ด,Barcode Scanner,CCD Scanner ,Laser Scanner,Imager Scanner,สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด

ข้อควรรู้สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก และใช้งานได้จริง!

ข้อควรรู้สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก และใช้งานได้จริง!

สำหรับเจ้าของกิจการร้านค้าหรือผู้ที่กำลังมองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกๆ และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ว่าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน กลัวเลือกผิด กลัวได้ไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่ตัวเองต้องการ ก่อนอื่นท่านคิดว่าตัวเองรู้จักอุปกรณ์ Barcode Scanner ดีแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ดีพอ วันนี้เรามีข้อมูล หรือข้อควรรู้ก่อนที่จะตัดใจเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกสักหนึ่งชิ้น ลองไปดูกันเลยครับ .. เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือ Barcode Scanner คืออะไร? อุปกรณ์ชนิดนี้มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือตัวเลขเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตัวเลขในที่นี้ก็คือรหัสสินค้าที่ในระบบสินค้าคงคลังเพื่อช่วยจัดเก็บข้อมูลนั่นเอง คล้ายๆการป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ด แต่ว่าจะมีความสามารถเพิ่มเติมจากคีย์บอร์ดมาตรงที่ในการอ่านบาร์โค้ดแล้วนำไปประมวลผลก่อนส่งต่อให้กับระบบ เนื่องจากมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก ถ้าหากใช้ระบบแบบคนคีย์ข้อมูล คีย์ตัวเลขก็อาจจะผิดพลาดได้ เวลาป้อนข้อมูล เรียกใช้งาน หรือตรวจสอบจึงจะไม่ค่อยสะดวก มีโอกาสเสี่ยงผิดพลาดได้เยอะ ดังนั้นการที่ใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในความแม่นยำและความรวดเร็วในการทำงานและการตรวจสอบต่างๆ เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเคลื่อนย้ายได้ และ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบติดกับที่ (ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้) โดย เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่มักจะมีหน่วยความจำในตัวเองเพื่อบันทึกข้อมูลที่อ่านบาร์โค้ดได้ด้วยการกดปุ่ม อุปกรณ์สามารถพกพาได้จึงทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน เพราะเครื่องแบบพกพาได้จะมีขนาดเบา วิธีการนำเครื่องไปอ่านบาร์โค้ดก็คือพกพาเครื่องอ่านไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ แต่สำหรับเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบที่พกพาได้แต่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองไว้เก็บข้อมูลก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง การใช้งานก็จะไม่สะดวกสบายเท่าแบบที่มีหน่วยความจำในตัวเอง

สำหรับเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบติดกับที่ ส่วนใหญ่จะติดอยู่กับตำแหน่งที่โต๊ะแคชเชียร์ที่มีสายพานไว้วิ่งสินค้า (ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ) เครื่องอ่านชนิดนี้จะไม่สามารถเครื่องย้ายได้ มักจะติดหรือฝังไว้กับโต๊ะ เมื่อสินค้าเคลื่อนไหวผ่านหน้าตัวเครื่อง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ

การเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติต่างๆของเครื่องอ่านบาร์โค้ดด้วย อย่าเพียงแต่มองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกอย่างเดียว เพราะถ้าซื้อมาผิดประเภทจากที่ต้องใช้งานจะกลายเป็นว่าเสียเงินฟรี ต้องคำนึงถึงว่าสามารถยิงสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดที่ติดอยู่บนสินค้าของท่านได้หรือไม่ นอกจากคำนึงถึงเรื่องการใช้งานแล้ว เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามแต่ชนิดของหัวอ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกหรือแพงก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของมันและข้อแตกต่างทางการใช้งาน แบ่งออกได้ตามนี้

  1. CCD Scanner (Charge Coupled Device Scanner) มีข้อดีเมื่อต้องใช้งานในที่ที่มีแสงสว่างมากๆ รวมถึงเวลาที่ต้องใช้งานกลางแจน ส่วนข้อเสียนั้นคือเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดนี้ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดความกว้างมากกว่าหน้าจอนำเข้าของตัวเครื่องได้ เวลาที่จะใช้เครื่องตัวนี้อ่านบาร์โค้ดจะต้องใช้กับสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดที่ถูกติดไว้กับวัตถุหรือสินค้าพื้นผิวเรียบเท่านั้น และต้องยิงในระยะห่างจากสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดไม่เกิน 1 นิ้ว โดยเครื่อง CCD Scanner จะมีลักษณะเป็นปืนยิง ใครที่มองหาเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก CCD Scanner ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ
  2. Laser Scanner มีทั้งแบบที่พกพาได้และติดตั้งอยู่กับที่ ข้อดีคือในการอ่านไม่ต้องใกล้กับตัวบาร์โค้ด การทำงานจะใช้ระบบกระจกและเลนส์ โดยใช้การยิงแสงเลเซอร์ผ่านกระจกออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว จึงทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ เพราะเส้นเลเซอร์มีขนาดเล็กและถี่ สามารถอ่านได้ห่างมากถึง 24 นิ้ว ราคาก็จะกลางๆไม่แพงมากสำหรับเครื่องที่อ่านแบบใช้การยิงเลเซอร์ จึงถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูกแบบอัพขั้นขึ้นมาอีกหน่อย
  3. Imager Scanner คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ใช้หลักในการจับภาพของสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด คล้ายๆกล้องถ่ายรูป จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Camera Reader ข้อดีคือสามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กๆได้ รวมถึงยังสามารถยิงบาร์โค้ดในระยะที่ไกลกว่าเดิมได้มากยิ่งขึ้น แต่การประมวลผลจะค่อนข้างช้ากว่าแบบ Laser Scanner เครื่องอ่านชนิดนี้จะใช้วิธีการประมวลข้อมูลจากตัวบาร์โค้ดได้อย่างทันสมัย
  4. Omni-directional Scanner คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานจะค่อนข้างคล้าย Laser Scanner แต่จะต่างกันตรงที่มีการฉายแสงออกมาแบบหลายทิศทาง และแสงที่ฉายออกมาจะมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม (ตัดกันไปตัดกันมา) เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่ได้มีการติดตำแหน่งบาร์โค้ดให้อยู่ในจุดเดียวกัน เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดนี้จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่ว่าราคาก็จะสูงกว่าแบบ Laser scanner ส่วนใหญ่เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดนี้เราจะเห็นได้บ่อยในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ ดังนั้นใครที่ต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก ก็อาจจะต้องมองข้ามตัวนี้ไป

 

เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกซื้อก็ต้องหาข้อมูลดีๆ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่แพงก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป บางทีเครื่องอ่านบาร์โค้ด ราคาถูก อาจจะใช้งานได้เหมาะสมกับธุรกิจของท่านมากกว่า  แต่จริงๆแล้วอยากให้มองเรื่องราคาเป็นรอง ให้มองที่คุณภาพและบริการหลังการขายจะดีกว่า เลือกที่ราคาสมเหตุสมผล สินค้าแต่ละยี่ห้อ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของแต่ละคน